กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดีหลวง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5239-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.หญิงศิรินาฏ นวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.58,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี รองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในส่วน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด       การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ

อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น

0.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนโรงเรียนและวัด ที่เป็นแหล่งโรค

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีจำนวนน้อยลงและลดการเกิดโรคในทุกกลุ่มอายุให้มีปริมาณน้อยลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมป้องกันโรค 0 40,000.00 -

1.ศึกษาปัญหาและสำรวจข้อมูลความต้องการของชุมชน     ๒.นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลดีหลวง     ๓.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง         ๔.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีหลวง และ วิทยากร
        5.ดำเนินงานตามโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
5.1 ก่อนเกิดโรค 5.1.1 สำรวจและทำลายแหล่งพันธุ์ยุงลาย 5.1.2 ปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านกายภาพโดยทำลายภาชนะที่ไม่ใช้ ล้าง    ขัดภาชนะที่มีน้ำขังและเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน 5.1.3 ปรับปรุงด้านชีวภาพโดยใส่ปลากินลูกน้ำ 5.1.4 ปรับปรุงด้านเคมีโดยใส่ทรายเทมีฟอส 5.2 ช่วงเกิดโรค 5.2.1 กรณีเกิดโรคครั้งเดียวในชุมชน - พ่นครั้งที่ 1 วันที่ 0 - พ่นครั้งที่ 2 วันที่ 7 5.2.2 กรณีเกิดโรคซ้ำในพื้นที่เดียวกันภายใน 1-2 สัปดาห์ - พ่นครั้งที่ 1 วันที่ 0 - พ่นครั้งที่ 2 วันที่ 3 - พ่นครั้งที่ 3 วันที่ 7 - พ่นครั้งที่ 4 วันที่ 14 - พ่นครั้งที่ 5 วันที่ 28                     5.2.3 ใช้สเปรย์ฉีดยุงเพื่อฆ่ายุงตัวเต็มวัยในบ้านของผู้ป่วยกรณีที่ไม่สามารถพ่นหมอกครัวได้ภายใน 24 ชม.หลังได้รับแจ้งการเกิดโรค 5.3 หลังเกิดโรค 5.3.1 เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5.3.2 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนทั่วไป อสม.ผู้นำชุมชน องค์กรต่างๆ และสถานที่ราชการ มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในด้านการควบคุมพาหะสิ่งแวดล้อมและการป้องกันโรค สามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไข้เลือดออกน้อยลง ส่งผลให้ประชาชนตำบลดีหลวงมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2564 16:10 น.