กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชน โดย อสม. โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายทราบสถานะสุขภาพของตนเองและมีแนวทางในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม โดยการใช้แบบคัดกรองและการคัดกรองโดยการวัดความดันโลหิตและการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผู้รับบริการจะได้ทราบค่าระดับความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเอง เพื่อจะนำไปสู่แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต 1. อายุส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความ ดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิตอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90แต่ก็ ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/70 เท่าเดิมก็ได้ 2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน เช่น ตอนเช้าความดันซิสโตลิก (ความดันตัวบน) อาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 180 มม.ปรอท ขณะ นอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น 3. จิตใจและอารมณ์พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน 4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง 5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะ เป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรค ความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน 6. สภาพภูมิศาสตร์ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท 7. เชื้อชาติพบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว 8. เกลือ ผู้ที่กินเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่กินเกลือน้อย จากการที่ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลงได้ เช่นนี้ ทำให้การวินิจฉัยโรคด้วยตัวผู้ป่วยเอง อาจทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือไม่ หลักการคัดกรองเบาหวาน 1. คัดกรองเฉพาะกลุ่มที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2. คัดกรองวัดระดับน้ําตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะปลายนิ้ว (DTX )โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรืออสม.ที่ผ่านการอบรม โดยการอดอาหารและไม่อดอาหารก่อนการเจาะเลือด 3. ผู้ที่พบเสี่ยงและสงสัยป่วยต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ตรวจที่รพ.สต.ซ้ำ 4. พบสงสัยป่วยส่งพบแพทย์ ผู้ที่เสี่ยงดําเนินการปรับพฤติกรรมสุขภาพ และผู้ที่ปกติได้รับความรูู้ของ โรคเบาหวาน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองตามเป้าหมายผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 95ของประชาชนที่มีอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
0.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองทราบค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลของตัวเอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองทราบค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลของตัวเอง
0.00

 

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
0.00

 

4 เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100ของผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1619
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,619
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองตามเป้าหมายผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองทราบค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลของตัวเอง (3) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (4) เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1.กิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนลงปฏิบัติงานของอสม.ในเวทีประชุมประจำเดือน เป้าหมาย อสม.จำนวน 73 คน 2.กิจกรรมเชิงรุกในชุมชนโดยอสม ประชาชนที่มีอายุ๓๕ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลเขาปูน จำนวน ๑,๖๑๙ คน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่1. การคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง - ควรวางแผนการคัดกรองและเริ่มดำเนินการคัดกรองตั้งแต่ไตรมาสแรกเพื่อให้เกิดความครอบคลุม - ปรับรูปแบบบริการเป็นแบบ New Normal ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ในระยะยาว - การค้นหา/สนับสนุนการพัฒนา Service Model นวัตกรรม เทคโนโลยี Health station, Application ที่ช่วยในการคัดกรองและการเข้าถึงการบริการเชิงรุกมากขึ้น -การดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ต้องมีความรอบคอบและเน้นความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน 2. การดำเนินงานและระบบข้อมูล - จัดระบบและทีมตรวจสอบ ติดตาม แก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลร่วมกันอย่างต่อเนื่อง - สื่อสารความเสี่ยงที่จูงใจให้ประชาชนเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh