กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชนตำบลกาบัง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 041/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาธารณสุขอำเภอกาบัง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 45,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยาณี ดารามัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กวัยเรียน6ปีขึนไป ภาวะเสี่ยงและฆาตัวตาย
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด โดยสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จากการสำรวจข้อมูลความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ปี พ.ศ. 2563 ในเด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 319 คน (กรมสุขภาพจิต) พบว่าเด็กจังหวัดยะลามีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 66.66 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ เฉลี่ย 45.90 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 70) และพบว่าผลการประเมินปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ (เด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 264 คน ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน) อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 8.5 และอยู่ในระดับมีปัญหา ร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังว่าเด็กนักเรียน ป.1 สงสัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) เรียนรู้ช้า และสมาธิสั้นตามลำดับ จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลกาบังตำบลกาบัง พบว่าในปี 2563มีจำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเขตตำบลกาบัง ที่เข้ารับการตรวจวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) จำนวน 25 ราย มีระดับความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 71.79 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็ก ที่อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) จำนวน 8 ราย เรียนรู้ช้า (ID) จำนวน 15 ราย และสมาธิสั้นมีจำนวน 2 ราย จากปัญหาดังกล่าว งานสุขภาพจิตเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกาบัง ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน” ขึ้น เพื่อค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าว อย่างถูกต้องและเหมาะสม

20.00 30.00
2 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยเรียน

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กในชุมชน

20.00 30.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กในวัยเรียนในโรงเรียน/ให้คำปรึกษา/แนะแนว

ผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยเรียน

20.00 30.00
4 เพื่อมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

20.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินจากแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กในวัยเรียนในโรงเรียน/ให้คำปรึกษา/แนะแนว

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าว อย่างถูกต้องและเหมาะสม 45,350.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กในชุมชน ผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยเรียน ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 00:00 น.