กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปูน


“ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย ”

ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสาววิภา ชูเเอียด

ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย

ที่อยู่ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L1528-3-20 เลขที่ข้อตกลง 15/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปูน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 64-L1528-3-20 ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 68,250.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปูน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ข้อมูลจากกองป้องกันบาดเจ็บ (กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บทั่วไป) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๖๓) มีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๗,๗๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๗๗๙ คน หรือวันละ ๒ คน กลุ่มเด็กอายุ ๕ - ๙ ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๗) รองลงมาคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 35.๔) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราต่อประชากรเด็กแสนคนพบว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๕ - ๙ ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๗.๘ และข้อมูลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ๕๓๑ คน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน โดยเฉลี่ยปีละ ๒๖๓ คน เด็กเล็ก (อายุ ๐ - ๒ ปี) จมน้ำเสียชีวิตถึง ๙๑ คน (ร้อยละ ๑๗.๑ ของเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี) เดือนกรกฎาคมพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด (๕๕ คน) รองลงมาคือมิถุนายน (๕๔ คน) และพฤศจิกายน (๕๔ คน) ซึ่งแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ๑๙ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ บ่อขุดเพื่อการเกษตรยังคงเป็นแหล่งน้ำที่พบการจมน้ำสูงสุด (ร้อยละ ๓๓.๒) อย่างไรก็ตาม กลุ่มเด็กอายุ ๐ - ๒ ปีพบจมน้ำเสียชีวิตสูง เฉลี่ยถึงปีละ ๑๖1 คน (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการจมน้ำภายในบ้านและละแวกบ้านของตนเอง เพราะขาดการจัดการพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้เด็ก ทั้งนี้เด็กเล็ก สามารถจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1 - 2 นิ้ว)
  เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะความสามารถในการว่ายน้ำ) พบว่า ร้อยละ ๕๗.๙ ว่ายน้ำไม่เป็น เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะ การใช้เสื้อชูชีพ) พบว่า ร้อยละ ๖๘.๔ ไม่สวมเสื้อชูชีพ ขณะที่เกิดเหตุจมน้ำพบว่า เด็กอยู่กับเพื่อนมากที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๕) รองลงมาคืออยู่กับผู้ปกครอง (ร้อยละ ๓๒.๖) เด็กที่จมน้ำพบว่า เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือ เสียชีวิต ณ โรงพยาบาล/ห้องฉุกเฉิน (ร้อยละ ๑๓.๒) และมีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ผิดวิธี โดยการกระโดดลงไปช่วย ถึงร้อยละ ๒๗.๕

  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้มีแนวทางป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใช้ดำเนินการ 4 แนวทาง ดังนี้ 1. การใช้สระว่ายน้ำหรืออ่างเล่นน้ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องสอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักอันตรายจากการจมน้ำ
2. จัดสภาพแวดล้อมในศูนย์ เฝ้าระวังดูแลป้องกันคุ้มครองเด็ก และสอนเด็กให้รู้จักกฎแห่งความปลอดภัย คือ สอนให้เด็กวัยนี้รู้จักหลีกไกลแหล่งน้ำเมื่ออยู่ตามลำพัง สอนให้เด็กใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ สอนเลี้ยงตัวเมื่อตกน้ำ เพื่อให้โผล่พ้นน้ำชั่วขณะ และสอนให้ว่ายน้ำระยะสั้นๆเพ่อให้ตะกายเข้าฝั่งได้
3. การสอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง 4. สอนให้ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็กรู้จักการช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำ โดยเน้นหนัก “ตะโกน โยน ยื่น” ที่สอนให้เด็กตะโกนขอความช่วยเหลือเมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือมีเพื่อนจมน้ำ ที่สำคัญต้องร่วมกันให้ความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องสมรรถนะเด็ก แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงบุคลากรผู้สอน
    จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูน เห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ประกอบกับพื้นที่ของตำบลเขาปูนมีแหล่งน้ำต่างๆ มากมาย เช่น น้ำตก ลำคลอง บ่อน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ ซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูน ได้จัดทำโครงการ “โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย” เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกันและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2564

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. จัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ 1.1 เทคนิคการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย 2.2 อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ 3.3 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. จัดอบรมและฝึกปฏิบัติ 2.1 เทคนิคการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย 2.2 อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การปฐมพยาบาลถูกวิธี และรู้จักวิธี  การกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ถูกวิธี สำหรับเด็กจมน้ำ   2. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูนว่ายน้ำเป็น สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ   3. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูนมีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้าน   3. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในการป้องกันเด็กจมน้ำและการปฐมพยาบาล อย่างถูกวิธี


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. จัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ    1.1 เทคนิคการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย    2.2 อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ    3.3 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. จัดอบรมและฝึกปฏิบัติ    2.1 เทคนิคการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย    2.2 อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L1528-3-20

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาววิภา ชูเเอียด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด