กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกรักฟันดี ด้วยมือผู้ปกครอง
รหัสโครงการ 64-L3060-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาดือนัน สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดีช่วยเสริมคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 3-5ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงและปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น เราจึงจําเป็นต้องดูแลสุขภาพในช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกําจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ นั่นคือ ให้ความสําคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งดีกว่าการรักษาเพราะกระทําในสภาพปกติ ไม่ก่อให้เกิด ความเจ็บปวด ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในการปวดฟัน ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่เสียเวลาในการรักษา และที่สําคัญคือไม่ต้องสูญเสียฟัน การส่งเสริมทันตสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัยโดยเฉพาะพฤติกรรมการทําความสะอาดช่องปากและพฤติกรรมการบริโภคอันเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบรายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8ประเทศไทย พ.ศ. 2560พบว่า เด็กอายุ 3 ปี และเด็กอายุ 5 ปี ซึ่งมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ ในระดับประเทศมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.7 และ 4.5 ซี่/คน และในเขตภาคใต้ พบว่ามีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 3.1และ5.2ซี่/คน จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของเด็กอายุ 3-5ปี ที่มารับบริการในคลินิกเด็กดีตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2563พบว่า เด็กในช่วงอายุ 3 ปีมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(dmf) เท่ากับ 3.6 ซี่/คนเด็กในช่วงอายุ 5 ปีมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(dmf) เท่ากับ 7.4 ซี่/คนซึ่งมีค่าผุ ถอน อุด (dmf) เฉลี่ยในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าผุ ถอน อุด (dmf) ระดับประเทศและระดับภาค จากการสำรวจและเก็บข้อมูล ทำให้เห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาและการป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3-5 ปี ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการ “ลูกรักฟันดี ด้วยมือผู้ปกครอง” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและการปฏิบัติตนที่ถูกวิธีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีในตำบลละหารได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลี้ยงดูลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ

ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปี ร้อยละ95 ไดรับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟัยผุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีในตำบลละหารได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลี้ยงดูลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อคืนข้อมูลสถานะฟันของเด็ก กลุ่มอายุ 3-5 ปีและดำเนินการจัดกิจกรรมการให้ความรู้และสอนทักษะการดูแลช่องปาก 60.00 8,000.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 2.1 ดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองตามกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย 2.1.1 รับสมัครผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2.1.2 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำในเรื่องทันตสุขภาพ 2.1.3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กอ 120.00 12,000.00 -
1 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 3. กิจกรรมหลังการดำเนินโครงการ 3.1 ติดตามการแปรงฟันของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุทุกเดือน 3.2 ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ทุก 3 เดือน 3.3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 60.00 1,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1กิจกรรมก่อนการดำเนินโครงการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อคืนข้อมูลสถานะสุขภาพฟันของเด็กกลุ่มอายุ 3 – 5 ปี ที่เก็บรวบรวมเพื่อกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ 1.2ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเตรียมดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้และสอนทักษะการดูแลช่องปาก
2. กิจกรรมระหว่างดำเนินการ 2.1 ดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองตามกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย 2.1.1 รับสมัครผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2.1.2 ตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำในเรื่องทันตสุขภาพ 2.1.3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปีและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธีสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ และเคลือบฟลูออไรด์แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 3. กิจกรรมหลังการดำเนินโครงการ 3.1 ติดตามการแปรงฟันของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุทุกเดือน 3.2 ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ทุก 3 เดือน 3.3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

3.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็กอายุ 3-5 ปี มีสุขภาพอนามัยช่องปากที่ดีขึ้น 2. ผู้ปกครองตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปากและดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2564 09:44 น.