กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8423-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูคลิศ ยะยอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาความเจ็บป่วยของชาวบ้าน และการระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากการดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุขที่เน้นงานตั้งรับและทำงานในระบบซ่อมสุขภาพ กล่าวคือ เป็นสถานบริการที่ทำหน้าที่ในการรักษาผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียว บางสถานบริการก็มีการทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างสุขภาพแต่ขาดความเข้มแข็งทั้งตัวของเจ้าหน้าที่เองและทีมงานดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชนและการระบาดของโรคจึงยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ดูแล้วจะแก้ไม่ได้ แต่ถ้ากลับมามองในภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีวิธีการแก้ไขปัญหา ที่สำคัญที่สุดการแก้ปัญหาสาธารณสุขจำเป็นต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหานั่นหมายถึงการที่ต้องพยายามมุ่งเน้นงานเชิงรุกมากขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการสร้างสุขภาพภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งยกระดับความสามารถการดูแลตนเองของประชานให้มีระดับที่สูงขึ้นเพียงพอที่จะดูแล บรรเทาและประคับประคองภาวะสุขภาพที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลในตัวเองได้อย่างสมควร โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานนับเป็นโรคที่สำคัญที่มีผู้ป่วยในอัตราที่มากขึ้นทุกวัน เชื่อว่าในทุกที่ ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้านจะมีการระบาดของโรคนี้แทบจะทุกที่ เรียกได้ว่าจะเป็นโรคประจำถิ่นในหลายๆพื้นที่ไปแล้ว ความพร่องของระบบในร่างกายเป็นกลไกสาเหตุทำให้เกิดโรคดังกล่าวทั้งนี้เกี่ยวเนื่องไปถึงการประพฤติปฏิบัติของบุคคลแต่ละคนที่ไม่ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง ทั้งการไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร การปล่อยปละละเลยการออกกำลังกาย ความเครียด สิ่งเหล่านี้ย่อมไปทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างบกพร่องและทำให้เกิดโรคขึ้น อีกทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมาย เช่น การทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกที่อาจทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตในที่สุด การดำเนินงานสาธารณสุขในปัจจุบันมิได้นิ่งดูดายในการเฝ้าระวังโรคสำคัญดังกล่าวนี้ ยังมุ่งเน้นที่จะค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ตลอดจนมีการให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อปฏิบัติตนห่างไกลจากโรคได้ อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ทุเลา และยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่ จากการผลการดำเนินงานสาธารณสุข ปี 2563 เกี่ยวกับการดำเนินงานงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าทั้งหมด 463 ราย คิดเป็น 9,321.67 ต่อแสนประชากร ซึ่งสถิติดังกล่าวเป็นผู้ป่วยจากระเบียนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และอยู่ในระหว่างการรักษาจะเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่สูงมาก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการป้องกันและควบคุม ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องควบคุมป้องกันจากภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องป้องกันไม่ให้เป็นโรค จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเหล่านั้น จากพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพสู่พฤติกรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะ มหันตภัยเงียบอย่างโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ตำบลบาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพภายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และน้อมนำหลักการอิสลามมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1. ประชาคม/ประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับ อสม.ทั้งหมดเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไข
2. ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางในการแก้ไขและพัฒนางานเพื่อนำมาสู่การร่างโครงการ
3. ร่างแผนปฏิบัติงาน/ร่างโครงการ เสนออนุมัติ
4. แต่งตั้งทีมเครือข่ายการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ
5. มอบหมายงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ
1. อบรมพัฒนาความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเพื่อให้มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ถูกต้อง ตลอดจนมีทักษะในการดำเนินงานตามแนวทางของการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อของ รพ.สต.
2. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางและวิถีอิสลามในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามครรลองของศาสนาอิสลามเพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ตระหนักและมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรค
3. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางและวิถีอิสลามในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามครรลองของศาสนาอิสลามเพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ตระหนักและมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรค
4. ดำเนินการติดตามและประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลความคืบหน้าและความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการโดยทีมเครือข่ายควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ
5. จัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมพฤติกรรมในระดับพื้นที่ เป็นกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มปกติ เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคตามมัสยิดต่างๆ
6. จัดให้มีเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนประสบการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ การถ่ายทอดวิธีการ และการสร้างทีมต้นแบบในการต่อยอดกิจกรรม ขยายเครือข่ายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อไป
7. จัดให้มีบริการเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้ป่วยเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เน้นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยทีมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข

ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ
2. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตัวเองจากโรคความ ดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
  2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนโดยมุ่งเน้นการ มีส่วนร่วมจากภาคีประชาชนเพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความมั่นคงและยั่งยืน
  3. เกิดกระแสของการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทั้งในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไปอีกด้วย
  4. เกิดการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีอิสลามซึ่งเป็นวิถีของการดำเนินชีวิตของประชาชนและประชาชาติอิสลามที่มีความสมบูรณ์แบบ ทันสมัยและได้ผล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2564 13:38 น.