กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาเด็กขาดรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L8423-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลาวีสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนิมลต์
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 317 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยเราเมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว โดยค่อยๆ เพิ่มชนิดของวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมโรคสำคัญแทบทุกโรคในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เด็กๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่างๆ เช่น โปลิโอ,คอตีบ,ไอกรน,วัณโรค ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคติดต่อเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน บางโรคการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “การระบาด” ผลการระบาดแต่ละครั้งทำให้ผู้ติดเชื้อพิการ และเสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคในอนาคตซึ่งแน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมจะดีกว่าการรักษาในภายหลังการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนาแทนที่จะให้เกิดโรคก่อนค่อยคิดหาวิธีหายาหาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บป่วยทรมาน รำคาญใจและเสียเงินมากมายซึ่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆโดยการฉีดวัคซีนซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายซึ่งสามารถป้องกันโรคได้๘ ชนิดดังนี้วัณโรคตับอักเสบบีคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอหัดและไข้สมองอักเสบซึ่งวัคซีนป้องกันโรคแต่ละตัวแต่ละชนิดควรได้รับตามช่วงอายุที่กำหนดและรับครบชุดตามเกณฑ์ เมื่ออายุครบ ๕ ปี จากผลจากกการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ผลงานคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๔, ๖๔.๑๓, ๘๒.๕๓, ๘๘.๐๙ และ ๙๔.๐๙ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ๕ ปี มีผลงานดีขึ้นแต่ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด คือ เด็กอายุครบปี ได้รับวัคซีนครบชุด คิดเป็นร้อยละ ๙๕ ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาในรูปแบบเดิมยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เด็กอายุครบ ๑ ปี,๒ ปี,๓ ปีและ ๕ ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

 

2 ๒. เพื่อลดอัตราป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 41,600.00
21 ก.ย. 60 โครงการแก้ปัญหาเด็กขาดรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0 0.00 41,600.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำแผนปฏิบัติการ ๒. จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓ .ประสานงานเตรียมเจ้าหน้าที่ เตรียมพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลวัคซีน

ขั้นดำเนินการ ๑. จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ๒. สำรวจและจัดทำบัญชีรายชื่อเด็กอายุ ๐- ๕ ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบชุด ๓. นัดหมายให้มารับวัคซีนตามแผนให้บริการของสถานบริการ ๔. ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเด็ก ๐-๕ ปี ๕. จัดคลินิกเคลื่อนที่ให้บริการ ฉีดวัคซีนในเด็กที่ไม่มาตามนัด ๖. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่พาเด็กมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุกับผู้ปกครองที่เด็กฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุและผู้ปกครองที่ไม่ยินยอมพาเด็กมาฉีดวัคซีนเลย

ขั้นหลังดำเนินการ ๑. ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงาน ๒. ประเมินตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กอายุ ๐ - ๕ ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ๒. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน และอาการข้างเคียงของวัคซีนหลังได้รับวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 23:11 น.