กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L2475-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูฮานาลืองิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิมลต์หะยีสามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.997,101.573place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 8,000.00
รวมงบประมาณ 8,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุขซึ่งจากผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๙ พบว่าผู้ป่วยเบหวานในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ จำนวน ๔๓ คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีเพียงร้อยละ ๑๘.๙๒ และเกิดภาวะแทรกซ้อน ไต ตาเท้า ร้อยละ ๓๖.๕๘จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมอาหารดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกจึงจัดทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่ม ผู้ป่วยเบาหวาน ปี ๒๕๖๐ ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม( HbA1c ) < 7 mg% ๒. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเอง ๓. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต ใจ เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

๑. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1c)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ส.ค. 60 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 43 6,500.00 6,500.00
18 ส.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ประกวดบุคคลหลังเข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น 5 1,500.00 1,500.00
รวม 48 8,000.00 2 8,000.00

๑ ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหากำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมายและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ๒ ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ , อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ป่วยเบาหวาน ๓ จัดเตรียมเอกสารและความพร้อมก่อนดำเนินการอบรม ๔ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังนี้ ๔.๑ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมความรู้เรื่องการออก กำลังกาย ๔.๒ การฝึกปฏิบัติการสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพการออกกำลังกาย ๕ ติดตามผล น้ำตาลเฉลี่ยสะสม ( HbA1c ) หลังเข้าร่วมโครงการทุก 3 เดือน ๖ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ๒โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ๓เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 23:27 น.