กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาคมสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ
รหัสโครงการ 60-L3066-04-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่ากำชำ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนาเซร์ หวังจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ องค์กรบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.072place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาจะได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง และกระบวนการดำเนินงานจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ความสำเร็จจะยั่งยืนกว่าการพัฒนาโดยภาครัฐเพียงอย่างเดียว จากแนวคิดการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างวัฒนธรรมสุขภาพพอเพียง เพื่อสังคมแห่งสุขภาวะ โดยการเสริมสร้างระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งอย่างพอเพียง พึ่งตนเองและพึ่งพากันได้อย่างเกื้อกูล เพื่อให้เกิดสังคมอยู่เย็นเป็นสุข และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดกรอบเวลาขั้นตอนการดำเนินงานและเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการปี 2553 เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เดิม ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การต่ออายุกองทุนหลักประกันสุขภาพเดิม ดังนี้ ๑. มีการบันทึกข้อมูล ส่งรายงานประจำปีและรายงานการเงิน ๒. พร้อมสมทบเงินและแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ใหม่ ภายใต้เดือนตุลาคม ๓. มีแผนสุขภาพหรือแผนที่ยุทธศาสตร์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมต่อเนื่องทุกปี ๔. ประธานกรรมการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการผ่านการอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารกองทุนฯ จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเข็มพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน จากรูปแบบที่เน้นการให้บริการ ไปเน้นที่การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนยืนได้ด้วยตัวเอง อันหมายถึง การสร้างสุขภาพโดยประชาชนแทนการซ่อมสุขภาพด้วยบริการ ส่งเสริมให้หน่วยงานทุกระดับใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพของประชาชนในระดับท้องถิ่นหรือชุมชนได้ตามความเหมาะสม ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความสามารถของท้องถิ่น ชุมชน และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้ความสามารถดำเนินการจัดการระบบสุขภาพได้ด้วยการสร้างกระบวนการจัดการสุขภาพและเพิ่มทักษะการใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการสร้างและบริหารจัดการนวัตกรรมในทุกระดับหลากหลายรูปแบบที่ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้น คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ จึงได้จัดทำโครงการประชาคมสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ เพื่อเป็นการค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนเอง....

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ

 

2 เพื่อส่งเสริมให้องค์กร ชุมชน มีศักยภาพในการพัฒนาระบบสุขภาพ

 

3 เพื่อให้ชุมชนจัดทำแผนสุขภาพหรือแผนที่ยุทธศาสตร์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเสนอเพื่ออนุมัติโครงการ ๒. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงานต่างๆ ๓. การเตรียมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ วิทยากร โดยการประชุมทำความพร้อม ทำความเข้าใจ กำหนดแนวทาง และรูปแบบการดำเนินงาน ขั้นดำเนินงาน ๑. จัดทำเวทีประชาคม กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ โดยให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นของชุมชน ๒. นำกระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน ๓. ชุมชนจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ ขั้นการประเมิน ๑. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ ๒. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ากำชำ มีและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ๒.เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนมีความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพ ๓.มีโครงการของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 12:18 น.