กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ โรงเรียน อสม. สู่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อชุมชน ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L8423-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กันยายน 2560 - 17 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลาวีสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนิมลต์
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ต.ค. 2559 31 ธ.ค. 2560 3 ต.ค. 2559 31 ธ.ค. 2560 11,500.00
รวมงบประมาณ 11,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 49 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ถ้าหากการผลิตบัณทิตในมหาวิทยาลัยเป็นการเรียนรู้เพื่อให้ดีกรีกับคนและใช้ดีกรีที่ได้รับไปแสวงหางานทำเมื่อออกไปจากรั้วมหาวิทยาลัย การเรียนรู้ของ อสม.คือการเรียนรู้เพื่อที่จะจัดการกับปัญหาในขณะนั้นที่ตัวเองและส่วนรวมเผชิญอยู่ ถ้าหากการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถออกไปหาทำงานสนองประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง การเรียนรู้ของ อสม.ชัดเจนว่าเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันของชุมชนและสุดท้ายจะส่งผลมาถึงประโยชน์ของตัวเอง ฐานคิดของการเรียนรู้ของ อสม.จึงมีนัยยะของความแตกต่างอยู่บ้างเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา
โรงเรียน อสม. คือประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นบนฐานการพัฒนาการเรียนรู้ของอาสาสมัครในชุมชนหรือที่เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่บอกว่าโรงเรียนอสม.เป็นผลมาจากพัฒนาการการเรียนรู้ ก็เนื่องมาจากว่าการเกิดขึ้นของโรงเรียนไม่ได้เกิดจากการคิดตั้งโรงเรียนแต่เกิดจากมีการเรียนรู้มาเรื่อยๆ ภายใต้การทำกิจกรรมต่างๆ ของอสม. และท้ายสุดได้บทเรียนว่าการจัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้นจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมีบทสรุปว่าโรงเรียน อสม.ไม่ได้เกิดจากการคิดตั้งโรงเรียน อสม.แต่เกิดจากการต้องการสร้างการเรียนรู้บนฐานปัญหาจริงของชีวิต เช่นนั้นหากใครคิดตั้งโรงเรียน อสม. โดยการสร้างห้องเรียนและมีหลักสูตรการเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านี้ บางทีอาจไม่สามารถบรรลุถึงการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาและนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนได้
อย่างไรก็ตามภาพความสวยงามของโรงเรียน อสม.นั้นไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆแต่ทว่ามีความยากลำบากอยู่ หลายขั้นตอนกว่าจะพัฒนามาสู่โรงเรียน อสม.ได้ ภารกิจแรกของการก่อเกิดโรงเรียน อสม. ก็คือการทำให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม อสม.ก่อน ซึ่งมีทั้งการเริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมอื่นๆมาก่อนหรืออาจเริ่มต้นด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจของ อสม. หลังจากนั้นจึงสามารถออกแบบให้มีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องในรูปแบบของโรงเรียน อสม.ได้ ปัจจัยประการต่อมาก็คือการสนับสนุนโดยองค์กรพัฒนาต่างๆที่จะเข้าไปช่วยหนุนเสริมเชิงกระบวนการให้เกิดการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการสนับสนุนที่เป็นปัจจัยภายในของชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน อบต. ถ้าหากมีการสนับสนุนจากกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะสามารถทำให้โรงเรียน อสม. เกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่ออบรมเตรียมความพร้อม อาสาสมัครสาธาณรสุขประจำหมู่บ้าน ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้

 

2 ๒. เพื่อให้ อาสาสมัครสาธาณรสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะและเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

 

3 ๓. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม.สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 ก.ย. 60 พัฒนาหลักสูตรโรงเรียน อสม. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ อสม 49 6,600.00 6,600.00
18 ก.ย. 60 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.ครั้งที่1 49 1,225.00 1,225.00
29 ก.ย. 60 กิจกรรมแลกเปลีียนเรียนรู้ อสม.ครั้งที่ 2 49 1,225.00 1,225.00
20 ต.ค. 60 กิจกรรมแลกเปลีียนเรียนรู้ อสม.ครั้งที่ 3 49 1,225.00 1,225.00
17 พ.ย. 60 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.ครั้งที่4 49 1,225.00 1,225.00
รวม 245 11,500.00 5 11,500.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำแผนปฏิบัติการ ๒. จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจเพื่อขออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินการ ๑. พัฒนาหลักสูตรโรงเรียน อสม. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ อสม
๒. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อสม. ๓. ติดตามการดำเนินงาน ๓ เดือนครั้งจำนวน ๔ครั้งต่อปี ขั้นหลังดำเนินการ ๑.ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงาน ๒.ประเมินตามวัตถุประสงค์โครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม. มีความรู้ และทักษะ ในงานสาธารณสุขที่ถูกต้อง ๒. อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ ให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบ ๓. ประชาชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 23:49 น.