กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี
รหัสโครงการ 64-l3338-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี โดยประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทั้งโครงสร้างของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อการดูแลรักษาฟันและการดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็ก จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศปี 2561 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี                            มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 51.1 ในขณะที่ภาคใต้เขตสุขภาพที่ 12 พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ เป็นร้อยละ 56.3 สำหรับจังหวัดพัทลุง แม้โรคฟันผุของเด็กเล็กจะมีความชุกต่ำสุดในเครือข่าย แต่ก็พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยจากการสำรวจสภาวะช่องปาก ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 พบว่ามีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 60.73, 62.59 และ 52.54 ตามลำดับ โดยอำเภอที่มีความชุกสูงสุด ได้แก่ อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอปากพะยูน
จากการสำรวจเด็ก 3 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน 8 ศูนย์ พบว่า เด็กมีอัตราฟันผุร้อยละ 55.18  ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจังหวัดร้อยละฟันผุต้องไม่เกิน 50 และจากผลการดำเนินงานในปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี พบว่ามีกิจกรรมที่ควรพัฒนา คือ การฝึกทักษะผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก พบว่า                      มีผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะเพียง ร้อยละ 25.58 และเด็กได้รับฟลูออไรด์วานิชเสริม ร้อยละ 44.42 เฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อปี สำหรับการทาฟลูออไรด์วานิชเพียง 1 ครั้งต่อปีนั้น อาจไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลในเชิงป้องกันการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ ซึ่งจากหลายการศึกษาพบว่าผลเชิงป้องกันของฟลูออไรด์วานิชต้องทาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และประสิทธิผลสูงสุดเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงของเด็กทุกครั้งก่อนทา การฝึกทักษะให้ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกได้ และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกตามระดับความเสี่ยง และติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญในการที่จะลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลฝาละมี โดยการแปรงฟันที่มีคุณภาพ ร่วมกับกระบวนการให้บริการ                              ทันตกรรมป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์วานิชที่มีคุณภาพ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ส่งเสริมสนับสนุนในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก                        อายุ 3 – 5 ปี อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี เพื่อบูรณาการส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก
  1. ร้อยละของ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการบริการตรวจสุขภาพในช่องปาก
0.00
2 2. เพื่อลดการลุกลามของรอยโรคฟันผุในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน
  1. ร้อยละ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
0.00
3 3. เพื่อให้มีสื่อการเรียนการสอนเรื่องการแปรงฟันในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี
  1. ร้อยละ 100 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมีได้รับโมเดลสอนการแปรงฟัน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
    1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย,หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 - 5 ปี
    3. ครูพี่เลี้ยงนำเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนแปรงฟัน
    4. ประสานเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข จากหน่วยบริการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมกับทาฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็ก ในศูนย์  พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน 8 ศูนย์
    5. มอบชุดแปรงสีฟัน ยาสีฟันให้แก่เด็กที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิชเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับมอบ  ชุดโมเดลสอนแปรงฟันพร้อมกับแปรงสีฟันให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน 8 ศูนย์
    6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้น
    1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
    2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมีทั้งหมด มีสื่อสำหรับการเรียนการสอนเรื่องการแปรงฟัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2564 14:51 น.