กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กปฐมวัยและนักเรียนนาเมืองเพชรใส่ใจช่องปาก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1523-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 12,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิราพัชร กิตติเวชวรกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 264 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่พบมากในทุกกลุ่มวัย แต่ยังเป็นปัญหาที่ถูกมองข้ามมาโดยตลอด ธรรมชาติการเกิดโรคในช่องปากจะมีพัฒนาการไปตามช่วงวัย เริ่มจากปัญหาที่เกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเยาวชน จนไปยังผู้สูงอายุปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นจุดเริ่มต้นของความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในช่องปากและร่างกาย โดยปัญหาเริ่มจากการทำความสะอาดที่ไม่ถูกวิธีหรือไม่ได้ทำความสะอาดช่องปากจึงก่อให้เกิดโรคฟันผุ แล้วทำให้เกิดการสูญเสียฟันไปในที่สุด เป็นผลต่อเนื่องมาจากการไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและถูกละเลยในการรับบริการทางทันตกรรม จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่่ 8 ในปี 2560 พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 31.1 เด็กวัยเรียน พบว่าความชุกของโรคฟันผุร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่/คน จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัดตรัง พบว่าจังหวัดตรัง เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558-2560 ปราศจากฟันผุร้อยละ 51.2,52.26 และ 55.6 ตามลำดับ เด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันผุตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2559 ร้อยละ 47.8,39.00 และ 40.6 ตามลำดับ ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พบว่ากลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี ตั้แต่ พ.ศ.2558-2560 ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.5,50.93 และ 53.9 ตามลำดับ ดังนั้นทางกลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคฟันผุ จึงได้จัดโครงการเด็กปฐมวัยและนักเรียนนาเมืองเพชรใส่ใจช่องปากปี 2564 เพื่อให้เด็กปฐมวัยและนักเรียนในตำบลนาเมืองเพชรแปรงฟันสะอาดใส่ใจช่องปาก รักษา ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพช่องปาก สามารถลดปัญหาการเกิดฟันผุ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ทางทันตกรรมสุขภาพแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลหลักของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร 2. เพื่อให้ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนบ้านนาเมืองเพชร/โรงเรียนบ้านกลิ้งกลอง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลหลักได้รับการฝึกปฏิบัติ/สาธิตการแปรงฟันในเด็ก
  2. ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้รับการฝึกแปรงฟันและได้รับการตรวจฟันโดยทันตบุคลากร
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 เด็กปฐมวัย 30 2,785.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 เด็กวัยเรียน 264 9,340.00 -
รวม 294 12,125.00 0 0.00

3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน   - ประชุมวางแผนร่วมกับคณะทำงาน 3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน   - สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย   - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน   - จัดซื้อสื่อที่ใช้ในการให้ความรู้ทันตสุขศึกษา อุปกรณ์การดูแลส่งเสริมสุขภาพ 3.3 ดำเนินการให้บริการทางทันตกรรม 3.3.1 เด็กปฐมวัย   - จัดประชุมให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟันโดยใช้ตุ๊กตาสอนแปรงฟัน (ฟันน้ำนม) ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ดูแล   - อุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธี SMART Techinqe ในเด็กที่มีปัญหาฟันผุ 3.3.2 เด็กวัยเรียน (6-12 ปี)   - จัดประชุมให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟันโดยใช้ตุ๊กตาสอนแปรงฟัน(ฟันแท้) ในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
  - เคลือบหลุมร่องฟันเด็กที่มีฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 และ 2 ในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 3.4 สรุปผลโครงการ และนำเสนอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 เด็กปฐมวัย   1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   2. เด็กปฐมวัย ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม 7.2 เด็กวัยเรียน   1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   2. เด็กวัยเรียนได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม   3. เด็กวัยเรียนสามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 08:58 น.