กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5207-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายสุทิน พรหมทอง
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทิน พรหมทอง
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.965,100.529place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอมาตลอด ตำบลนาหม่อมเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชาชนแสนคน 5 ปีย้อนหลังสูงกว่าเกณฑ์มาตลอด ในปี 2560 อัตราป่วย เท่ากับ344 (30ราย) ปี 2561 อัตราป่วย เท่ากับ195 (17 ราย) ปี2562 อัตราป่วย เท่ากับ 429.13 (35 ราย) ปี 2563 อัตราป่วย เท่ากับ 61.30 (5 ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (ที่มา : ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวัง อำเภอนาหม่อม) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลนาหม่อม จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ในการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากตั้งรับไปสู่นโยบายเชิกรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลืือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลนาหม่อม พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่มีอัตราป่วยที่ลดลงในปี 2563 แต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกอยู่ในสภาวะที่ไใ่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดออัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของมัธยฐาน

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน วัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ค่า HI CI ในโรงเรียนเท่ากับ 0 วัดชุมชม น้อยกว่าร้อยละ 10

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ประชากรกลุ่มแกนนำประจำครอบครัว อาสาสมัครปราบลูกน้ำยุงลาย อสม. มีความรู้ที่ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามรถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของมัธยฐาน
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในชุชมชน วัด โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 10:03 น.