กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลกะลุวอ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2490-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 179,204.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนรารัตน์ สือเเม
พี่เลี้ยงโครงการ นายหรูน เพ็งโอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 พ.ค. 2564 7 พ.ค. 2564 179,204.00
รวมงบประมาณ 179,204.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11571 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับโลก พบผู้ป่วยสะสมรวมมากกว่า 142 ล้านคน โดยจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จนอยู่ในระดับมากกว่า 8 แสนคนต่อวัน ซึ่งเกิดจากการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นในอินเดีย และระดับการระบาดที่ยังคงสูงขึ้นในสหรัฐอเมริกา บราซิล และในยุโรป ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 1.5 หมื่นคนต่อวัน รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดมากกว่า 3 ล้านคน ส่วนในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 48,113 ราย ผู้ป่วยสะสมจากการระบาดในระลอกใหม่ 16,322 ราย ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง 320 ราย และเสียชีวิต 117 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีการแพร่กระจายไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ประวัติเดินทางไปยังสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานที่ ที่มีการรวมตัวกันหรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวและบุคคลที่เดินทางกลับจากประเทศเพื่อนบ้าน และในวันนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 1,470 รายใน 68 จังหวัด (ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 23 เมษายน 2564) และในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 50 ราย หายแล้ว 45 ราย รักษาตัว ณ โรงพยาบาล 3 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ณ วันที่ 22 เมษายน 2564) จึงควรเพิ่มความเข้มข้นของการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคในพื้นที่ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ก่อให้เกิดโรค และสื่อสารให้กับประชาชนเพื่อยกระดับมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ทำงานอยู่ที่บ้านถ้าทำได้ ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะสถานที่เสี่ยงที่จะมีคนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก และสแกนไทยชนะ หรือใช้หมอชนะเมื่อเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงต่างๆ
    ทำให้การรักษาพยาบาลเหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแล รักษาผู้ป่วยอาการหนักและมีความจำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ บุคคลเหล่านี้หลายคนอาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วย สายพันธุ์ แอฟริกา เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนรองรับผู้เข้ากักกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ เพื่อการสังเกตอาการผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางกลับจากประเทศเพื่อนบ้าน       ทั้งนี้ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่และจัดตั้งสถานกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยง เพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่จะได้รับเชื้อจากการสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยง องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาทางสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งสถานที่กักกันในพื้นที่ตำบลกะลุวอ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางกลับต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากประเทศ

ในพื้นที่ตำบลกะลุวอ มีสถานที่กักกันจำนวน 1 แห่ง สำหรับผู้ที่ความเสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางกลับต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากประเทศ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือเดินทางกลับจากต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากต่างประเทศได้รับการกักตัว 100 %

ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือเดินทางกลับต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากต่างประเทศได้รับการกักตัว 100 %

100.00
3 เพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยงของประชนในพื้นที่จะได้รับเชื้อจากการสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากต่างประเทศ

ประชาชนในพื้นที่ไม่มีผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือสัมผัสกับผู้ที่มีความเสี่ยง

100.00
4 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันตนเอง ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนในพื้นที่สามารถเฝ้าระวัง ป้องกันตนเอง ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้

80.00
5 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนมีความตระหนักและรับผิดชอบตนเองในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 11591 179,204.00 0 0.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (รองรับผู้กักกัน จำนวน 20 เตียง) 20 119,634.00 -
5 พ.ค. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การดูแลเฝ้าระวัง ป้องกันตนเอง ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 11,571 18,120.00 -
5 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 41,450.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ   - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน เช่น รพ.สต. สถานที่สำหรับจัดตั้งสถานที่กักกัน Local Quarantine :LQ 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ 3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของสถานที่กักกัน Local Quarantine : LQ   - จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่กักกัน เช่น ทำความสะอาดสถานที่ ซ้อมแซ่มอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆที่จำเป็นุ   - จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ ที่ใช้ในการกักกัน เช่น ของใช่ส่วนตัว ชุดที่นอนสำหรับผู้กักกัน เป็นต้น
  - จัดเตรียมสถานที่กักกัน เช่น จัดเตรียมของใช่ส่วนตัว ชุดที่นอนแต่ละคน 4. ขั้นตอนการดำเนินการ   - รับบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางกลับจากประเทศ   - ผู้กักตัวได้รับการคัดกรอง 100 %   - ติดตามอาการผู้กักกัน
5. ขั้นตอนจัดเก็บสถานที่กักกัน   - จัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว
  - ทำความสะอาดสถานที่กักกันและฆ่าเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด   - ทำลายขยะติดเชื้อที่ไม่ใช้งานแล้ว 6. ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
7. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางกลับต่างจังหวัด หรือเดินทางกลับจากประเทศได้รับการกักตัว 100 %
  2. ลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. ประชาชนในพื้นที่ตำบลกะลุวอ สามารถเฝ้าระวัง ป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโรโคนา 2019 (COVID-19)
  4. ประชาชนมีความตระหนักและรับผิดชอบตนเองในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  5. ในตำบลกะลุวอ ไม่มีผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 13:42 น.