กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
รหัสโครงการ 64-L5261-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าพระยา
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 99,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองช่าง เทศบาลตำบลท่าพระยา โดย นางสาวสุรพร โต๊ะสมัน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 เม.ย. 2564 31 ส.ค. 2564 99,200.00
รวมงบประมาณ 99,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรค COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ของประเทศไทย โดยเกิดจากเชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV ในสมาชิกลำดับที่ 7 ในตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus , เชื้อมีลำดับยีนมากกว่าร้อยละ 85 ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อโรคในมนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่าเป็น zoonotic disease ด้วยรายงานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศจีน โดยเริ่มจากการพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้น และต่อมาได้ทราบว่ามีสาเหตุจากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่แพร่จากคนสู่คน วันที่ 11 มกราคม 2563 ผลการตรวจเชื้อไวรัสในระดับรหัสสารพันธุกรรม ระบุว่าเป็น เชื้อไวรัส COVID-19 แม้จะยังไม่มีรายงานสรุปอย่างเป็นทางการ คาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกับสัตว์ 2 ชนิด คือ งูเห่า และค้างคาวชนิดหนึ่ง” โดยมีจุดเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อ เกิดจากคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเล และเนื้อสัตว์แปลกๆ หายาก ที่ถูกจับมาขายในตลาดสดในสภาพที่ยังเป็นๆ สัตว์เหล่านี้มีเชื้อไวรัสถูกขังเกิดความเครียดล้มป่วย และมีการติดเชื้อข้ามไปยังสัตว์อีกสายพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เมื่อนำไปบริโภคและติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย อาการคล้ายเป็นไข้หวัด มีน้ำมูกไหล ไอจาม ธรรมดา แต่แตกต่างตรงที่เมื่อถึงระยะหนึ่งปอดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ยาลดไข้ทั่วไปไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ ก็จะกลายเป็นพาหะแพร่ระบาดไปสู่คนอื่นๆ โดยการไอจามรดกัน สัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา ฯลฯ จนทำให้เกิดการป่วยและอาจเสียชีวิตได้ (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563), (Chee Kin, 2020) ตามที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการแพร่ระบาดในประเทศไทยระลอก 3อ้างถึงข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงผู้ติดเชื้อ โควิด ณ วันที่ 18 เมษายน 2564 พบยอดผู้ป่วยที่ติดเชื้อสะสมทั้งหมดจำนวน 42,352 ราย รักษาหายป่วยแล้ว 28,683 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล (รพ.) 13,568 ราย เสียชีวิตสะสม 101 ราย โดยแหล่งแพร่ระบาดมีความเชื่อมโยงกับสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และมีแนวโน้มที่โรคจะแพร่กระจายมากขึ้น และจังหวัดสงขลาถือเป็น 1 ใน 10 จังหวัดที่มีการติดเชื้อสูงสุด นั้น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลท่าพระยา ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ถึงแม้ยังไม่มีรายงานว่าผู้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 18 เมษายน 2564 จำนวน 285 ราย และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแนวทางมาตรการการควบคุมป้องกันการระบาดในพื้นที่จึงต้องดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ควบคุมและสังเกตอาการ ( Local Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน
ดังนั้น เทศบาลตำบลท่าพระยา จึงเห็นความสำคัญของปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ จึงขอดำเนินโครงการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง โดยดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันสุขภาพของประชาชน อาศัยการดำเนินงานส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย

 

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก

 

0.00
3 เพื่อลดความหวาดวิตกต่อสถานการณ์การระบาดของโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,200.00 0 0.00
3 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ค่าใช้จ่ายในการกักกันตัว 0 96,800.00 -
3 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ค่าใช้จ่ายระหว่างรอผลตรวจ เพื่อแยกกลุ่มปกติออกจากกลุ่มป่วย 0 2,400.00 -

1 วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2 ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงลงทะเบียนการเข้าพัก ณ จุดประสานงาน
3 ประชาชนที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเข้าที่พักใช้ชีวิตตามระเบียบปฏิบัติ ตรวจวัดไข้ อาการป่วยรายวัน ประชาชนที่เข้าข่ายส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ถ้าไม่เข้าข่ายให้เฝ้าระวังอาการรายวันครบ 14 วัน
4 ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังครบ 14 ลงทะเบียนออก เดินทางกลับบ้าน (ทั้งด่านปกติ และช่องทางธรรมชาติ) 5 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สามารถดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย 2 สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก 3 ลดความหวาดวิตกต่อสถานการณ์การระบาดของโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2564 08:51 น.