กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอน
รหัสโครงการ 017/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 12 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวนูรไอนีแวหะยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.786,101.482place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่่จะอยู่อาศัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ได้อย่างเท่าเมียมกันและอยู่ร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็ก และเพื่อนๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ศูนย์เด็กเล็กที่มีการจัดการควบคุมส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ
ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเด็กเล็ก เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพทีดีและทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ครูผู้แลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้าน และศูนย์พัฒฒนาเด็กเล็ก และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชน ดังนั้น เพื่อนสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก จึงได้บูรณาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่ออการเรียนรู้ ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี เพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับประเทศต่อไป และตามที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า กระทรวงสาธารนสุขได้ขอความร่วมมือในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในช่วงฤดูกาลระบาด เนื่องจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากของสำนักระบาดวิทนากรมควบคุมโรค ปี ๒๕๕๗ พบผู้ป่วยทั้งสิ้น ๖๕,๒๓๐ ราย มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย และในปี ๒๕๕๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถุงวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน ๙,๗๘๓ ราย มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย คิดเป็น อัตราป่วย ๑๔.๑๘ ต่อแสนประชากร พบมากในกลุ่มอายุ ๐-๔ ปี ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลสถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล ซึ่งมีเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากและเสี่ยงต่อการป่วยและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไปสู้เด็กคนอื่น ๆ ได้ง่าย ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลดอน จึงเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามตรการการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มข้นใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชน จึงเห็นควรจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลดอน ประจำปี ๒๕๖๐ ขึ้น เพื่อส่ง เสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าท่ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการเรียนรู็จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้จะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครองเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียนร้อยบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ฦศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) เล็งเห็งถึงความสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของเด็กเล็ก จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ ๒ ชี้แจงผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ถึงนโยบายการดำเนินงาน ๓ ดำเนินงานโครงการ ๓.๑ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.๒ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๓.๓ ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนอดกิจกรรมโครงการดังนี้ ๓.๓.๑ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ความรู้และให้คำแนะนำ ดังนี้ ๓.๓.๑.๑ กิจกรรมตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างเข้ม ๓.๓.๑.๑.๑ การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากแก่เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓.๓.๑.๑.๒ การป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป ๓.๓.๒ การดูแลรักษาและปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อเด็กเจ็บป่วย ๓.๓.๓ หลักโภชนาการที่ถูกสุขหลักอนามัยที่ดี ๓.๓.๔ การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงในเด็กอื่นๆ ได้แก่ โรคหวัด โรคตาแดง โรคอีสีอีใส โรคอ้วน โรคติดเชื้อต่าง ฯลฯ ๓.๓.๕ พัฒนาการของเด็ก ทั้ง ๔ ด้าน ช่วงอายุ ๒-๕ ปี และกิจกรรมเกมเพื่อการทดสอบ และพัฒนาด้านพัฒนาการของเด็ก ทั้ง ๔ ด้าน ๓.๓.๕.๑ ครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) เป็นวิทยากรนำต้อน "เด็กปฐมวัยเต้นแอโรบิคแฟนซี ชี ชีวิตสดใส ไร้แต้มสี" ๓.๓.๕.๒ กิจกรรมนันทนาการเพื่อนทดสอบการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยผ่านการเล่น และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานครู และเด็กปฐมวัย ๓.๓.๔ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ๓.๓.๕ จัดทำเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานต่างๆ จัดซื้อและจัดเตรียมสื่ออุปกณ์ต่างๆ ๓.๓.๖ ดำเนินการตามโครงการ ๓.๓.๗ สรุป-ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) มีความรู้ ความเข้าใจการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกวิธี ๒. รู้จักการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการแห่งวัย และเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยตนเองได้อย่างถูกวิธี ๓. เด็กปฐมวัยในศูนย์พันฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) มีสุนทรียภาพในกิจกรรมนันทนาการสู้การพัฒนาด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างรอบด้าน ๔. ครูดูแล และผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลอง (ยะมะแต) มีความรู้ ความเข้าใจในการช่วยดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างถูกวิธี ๕. ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลดอน ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยหน่วยงานต้นสังกัดและการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ตามมาตรฐานที่กำหนดดังต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรฐานที่๑ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕) , มาตรฐานที่ ๕ (ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๔) , มาตรฐานที่ ๑๐ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐.๑ และ ๑๐.๒) , มาตรฐานที่ ๑๓ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓.๖) , มาตรฐานที่ ๑๔ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔.๑) , มาตรฐานที่ ๑๕ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕.๑ และ ๑๕.๓) , มาตรฐานที่ ๑๙ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๙.๑ , ๑๙.๔ และ ๑๙.๔) อย่างน้อย ๔ มารตฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2560 13:37 น.