กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเผชิญการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L4135-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบุดี
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 49,952.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูการ์นอ มะตีมัน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับโลก พบผู้ป่วยสะสมรวมมากกว่า 142 ล้านคน โดยจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จนอยู่ในระดับมากกว่า 8 แสนคนต่อวันส่วนในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อสะสมจากการระบาดในระลอกใหม่ 14,879 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมีการแพร่กระจายไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีประวัติเดินทางไปยังสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว และในวันนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 1,390 รายใน 65 จังหวัด โดยจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในวันนี้ได้แก่ กทม.เชียงใหม่ ชลบุรี และสมุทรปราการ จึงควรเพิ่มความเข้มข้นของการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก สอบสวนโรคเพื่อค้นหาสถานที่เสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงและสื่อสารให้กับประชาชนเพื่อยกระดับมาตรการป้องกันโรค สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ทำงานอยู่ที่บ้าน ถ้าทำได้ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะสถานที่เสี่ยงที่จะมีคนรวมกันเป็นจำนวนมาก และสแกนไทยชนะ หรือใช้หมอชนะเมื่อเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ
ตามที่มีสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ระหว่างเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการระบาดวงกว้างและมีแนวโน้มการป่วยมากขึ้น กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเป็นกลไกทางสุขภาพที่สำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบุดี รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการเผชิญการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บูรณาการร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19

1.ร้อยละของประชาชนมีความรู้เรื่องอาการของโรคการป้องกันโรค COVID-19

0.00
2 2. เพื่อสร้างความเข้าใจการสวมหน้ากาก การมีหน้ากากอนามัยไว้ใช้เอง

2.ร้อยละของประชาชนที่สามารถมีหน้ากากอนามัยใช้เองและสามารถสวมหน้ากากถูกต้อง

0.00
3 3. เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
  1. ร้อยละของประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,952.00 0 0.00
10 พ.ค. 64 - 23 ก.ค. 64 จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกัน และลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 0 49,952.00 -
  1. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
  2. ดำเนินการจัดตั้งมาตรการการป้องกัน และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้แนะนำการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ ร้านค้า มัสยิด โรงเรียน ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
  3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
  5. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องโรค Covid-19
  2. ประชาชนมีพฤติกรรมที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 00:00 น.