กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กลานข่อยรักปลอดภัย ไม่ท้องก่อนวัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รหัสโครงการ 64-L3348-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลลานข่อย
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทักษ์เดช ชุมไชโย
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาเชิงสังคมที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวกับหลายมิติทั้งในด้านสภาพสังคมที่ขาดการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพ่อแม่ การพัฒนาการเข้าสู่วัยรุ่นที่เร็วขึ้น การขาดความรู้ในเรื่องเพศวิถีศึกษาที่ครบถ้วนเพียงพอ  การไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นมิตร ทัศนคติเชิงลบที่สังคมไทยมีต่อเรื่องเพศวิถีศึกษา การเข้าถึงสื่อต่างๆได้โดยไร้ขีดจำกัด และจากค่านิยมของวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความรู้และการป้องกันอย่างเพียงพอและก่อให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในที่สุด
ในปี 2555 และปี 2562 พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี มีแนวโน้มลดลงจากอัตรา 53.4 เป็น 31.3 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน และเขตสุขภาพที่ 6 มีแนวโน้มลดลงจากอัตรา 69.4 เป็น 39.2 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายในปี 2562 คืออัตรา 38 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน การพัฒนาทักษะชีวิตวัยรุ่น จะช่วยส่งเสริมวัยรุ่นรู้จักการคิด วิเคราะห์ การปฏิเสธในสถานการณ์เสี่ยง รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ ซึ่งการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการอบรมเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่น จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถที่จะคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับตัวเพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ถูกต้อง สามารถจัดการกับความต้องการปัญหาและสถานการณ์ต่างๆของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

แปลผลจากการทำแบบประมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

1.00
2 เพื่อสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน

แปลผลจากการทำแบบประมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

1.00
3 เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แปลผลจากการทำแบบประมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 9,000.00 0 0.00
23 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ 50 9,000.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 1.2 ประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 1.3 เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลานข่อย 2.ขั้นดำเนินงาน กิจกรรม การอบรมเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาโดยใช้แนวคิดทักษะชีวิตจะสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจปัญหาและผลกระทบของการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สาเหตุของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีความรู้ความสามารถใช้ทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาเรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้อย่างมีกระบวนการ และสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยมีตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เวลาในการสอนกิจกรรมละ 30 นาที
3.ขั้นติดตาม ประเมินผล 3.ประเมินทักษะชีวิตและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
      4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลานข่อย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนมีความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ การปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งลดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของกลุ่มเด็กนักเรียนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 15:01 น.