กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย เพื่อลดวัย ลดโรค
รหัสโครงการ 64-L3348-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยศรีเกษร
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชวิณ บัวบาน
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงตามภาวะกระแสโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป เช่น พฤติกรรมการบริโภค มักนิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง โปรตีนสูง กากใยน้อย ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้เป็นภัยเงียบที่รักษาไม่หาย และยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรค ที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน นอกจากนี้จากการตรวจวัดดัชนีมวลกาย (ค่าMBI) ของครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านห้วยศรีเกษรพบว่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ จำนวนมาก อยู่ในระดับที่ต้องเร่งให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจมีสุขภาพที่อ่อนแอไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ โรงเรียนบ้านห้วยศรีเกษรได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวนี้ จึงได้จัดทำโครงการ“ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย เพื่อลดวัย ลดโรค” เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การมีสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองสู่การมี สุขภาพที่ดี

ครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับหลัก 3 อ 2 ส

1.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้กับครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ในการดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกหลัก

ครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส

1.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสุขภาพที่ดี มีความความพร้อมในการปฏิบัติงานให้ เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร

ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความความพร้อมในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 23,000.00 0 0.00
23 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ 50 23,000.00 -

5 เม.ย. 2564 1. อบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การมีสุขภาพที่ดีโดยใช้หลัก 3 อ
2 ส พ.ค.64 ถึง
ส.ค.64 2. การออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค และการใช้เชือกยางยืด หลังเลิกเรียนเวลา 16.00 – 16.30 น.
วันอังคาร พุธ และศุกร์ 6 ส.ค. 64 3. การติดตามประเมินผลก่อนดำเนินการระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส
  2. ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความความพร้อมในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร
  3. ครู บุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง สามารถนำความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพ เผยแพร่ให้แก่นักเรียน ครอบครัวและชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 15:50 น.