กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคเรื้อรัง(เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคเรื้อรัง(เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L8409-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 8 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประชาชนในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ปัจจัยสาเหตุของโรคเกิดจากการขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง และการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ โรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นทุก ๆ ปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลาย ๆมาตรการทุกรูปแบบในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้เกิดการตระหนักตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ โดยการตรวจคัดกรองและดูแลสุขภาพสื่อสารความเสี่ยงเตือนภัยในประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้รับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและอันตรายของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ให้ร่วมมือกันดูแลสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรครวมถึงเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่าจะให้มีภาวะแทรกซ้อน จากผลการคัดกรองประชากร อายุ๓๕ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบปีงบประมาณ ๒๕๖3 จำนวน ประชากรเป้าหมายทั้งหมด 1,562 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,443 คน ร้อยละ๙2.38 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 260 ราย ร้อยละ18.02 พบกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 116 ราย ร้อยละ 11.5และพบผู้ป่วยรายใหม่ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ จำนวน 11 ราย ร้อยละ 0.76  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖4 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังและผู้ป่วยราย ใหม่ทุกราย ๒. เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๓. เพื่อลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

1.กลุ่มเสี่ยงและผู้ปวยรายใหม่ได้รับความรู้ ร้อยละ๑๐๐


2. อัตราการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(HT/DM) มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๖๐ ๓. อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดลง ร้อยละ๑๐     อัตราตายจากโรคหลอดเลือดสมอง ลดลง ร้อยละ ๗

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลฉลุง ๒. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ๔. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย วางแผนตรวจค้นหา กลุ่มเสี่ยงเชิงรุก อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ ๕. คีย์ข้อมูลเข้าโปรแกรม และประมวลผล ๖. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย โดยใช้ปิงปอง ๗ สี และจัดฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๕ ฐาน     ฐานที่๑  อาหาร     ฐานที่๒  อารมณ์     ฐานที่๓  ออกกำลังกาย
    ฐานที่๔  บุหรี่ / สุรา     ฐานที่๕  ความรู้เรื่องยา ๗. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย ๘. จัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรีนยรู้ในผู้ป่วยเก่าและตรวจสุขภาพทุกระบบ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ๙.  ติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัดหรือมีปัญหาภาวะแทรกซ้อน โดย จนท./อสม. ๑๐. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง โดยทีมสหวิฃาฃีพ ๑๑. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง     ๒. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวัง ต่อเนื่อง     ๓. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2564 12:41 น.