โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระดับพื้นที่ 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ชื่อโครงการ | โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ระดับพื้นที่ 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส |
รหัสโครงการ | 64-L2537-05-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 85,265.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไซนัล นิรมาณกุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2564 | 30 มิ.ย. 2564 | 85,265.00 | |||
รวมงบประมาณ | 85,265.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ในระลอกใหม่ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้าง รวมทั้งเชื้อมีการกลายพันธ์ทำให้ติดง่ายแต่ไม่แสดงอาการ ส่งผลให้มีการติดเชื้อในประเทศมากกว่า 1,000 คนต่อวัน ทำให้การรับรักษาในโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขไม่เพียงพอ ประกอบกับสถานการณ์ในต่างประเทศและประเทศเพื่อนบ้านก็มีการระบาดไม่ต่างกัน อาจจะรุนแรงมากกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ จึงมีแนวโน้มที่ทำให้แรงงานไทยจะถูกผลักดันกลับประเทศมากขึ้น นอกจากนี้การระบาดจากสถานบันเทิงในกรุงเทพมหานครและแรงงานต่างด้าวในจังหวัดปริมณฑล ทำให้มีการแพร่ของโรคนี้จนทำให้บางจังหวัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเตรียมสถานที่กักกันในระดับพื้นที่ หรือ Local Quarantine (LQ) เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการกักตัวบุคคลที่เดินทางจากจังหวัดที่มีความเสี่ยงและเดินทางกลับจากต่างประเทศขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ซึ่งมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล รวมทั้งอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67(3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ จึงต้องมีการเตรียมการรองรับเรื่องการเฝ้าระวังต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดให้มีสถานที่คัดกรอง แยกกัก กักกันหรือคุมไว้สังเกตเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในพื้นที่ ร้อยละ 100 มีสถานที่คัดกรอง แยกกัก กักกันหรือคุมไว้สังเกตเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในพื้นที่ |
1.00 | 1.00 |
2 | เพื่อให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100 มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ที่มีประสิทธิภาพ |
1.00 | 1.00 |
3 | เพื่อลดอัตราผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้มีจำนวนน้อยที่สุด ร้อยละ 100 เพื่อลดอัตราผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้มีจำนวนน้อยที่สุด |
20.00 | 20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 38 | 85,265.00 | 1 | 85,265.00 | 0.00 | |
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 | ขั้นตอนการดำเนินงาน | 38 | 85,265.00 | ✔ | 85,265.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 38 | 85,265.00 | 1 | 85,265.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผนงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย และ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
- ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
- สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
- สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
- การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
- มีสถานกักกัน แยกกัน โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ในพื้นที่
- สามารถจำกัดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ให้แคบลงได้
- สามารถลดอัตราผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้
- การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2564 00:00 น.