กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19และโรคติดต่อตามฤดูกาล ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L7886/2564/1/9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2565 - 18 มกราคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 13,600.00
รวมงบประมาณ 13,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค
80.00
2 ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
80.00
3 ร้อยละของการเกิดโรคติดต่อในชุมชนลดลง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนคนไทย ซึ่งขณะนี้เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เช่นเดียวกับโรคติดต่อตามฤดูกาลอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่, โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ทางเดินหายใจ, ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต       มาตรการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้น จำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวังป้องกันโรค มีมาตรการแก้ไขสถานการณ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำชุมชน ในการปฏิบัติงานทั้งคัดกรอง ค้นหากลุ่มเป้าหมาย เฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง และให้คำแนะนำการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 และโรคติดต่อตามฤดูกาลขึ้น เพื่อส่งเสริมประชาชนหรือผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค

มีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อม

50.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

ร้อยละ 70 ของประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ

50.00 1.00
3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อในชุมชน

ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อในชุมชน ร้อยละ 5๐

100.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 13,600.00 2 13,600.00
17 ม.ค. 65 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค 50 5,000.00 5,000.00
18 ม.ค. 65 กิจกรรมอบรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล สถานการณ์โรคโควิด-19 และโรคติดต่อตามฤดูกาล การดูแลตนเองไม่ให้เจ็บป่วย 50 8,600.00 8,600.00
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อสม., ผู้เกี่ยวข้อง
  2. เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
  3. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
  4. จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์
  5. ดำเนินงานตามโครงการ
    5.1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค 5.2 กิจกรรมอบรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล สถานการณ์โรคติดต่อตามฤดูกาล การดูแลตนเองไม่ให้เจ็บป่วย 5.3 กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดในหมู่บ้าน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อในชุมชน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน ผู้นักเรียน และทีม SRRT
  6. ประเมินผล / สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 และโรคติดต่อตามฤดูกาล มีภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
  2. อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนลดลง
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชน
  4. เครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความพร้อมในการดำเนินงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 00:00 น.