กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.ห่วงใย ร่วมใจ ป้องกันโรคโควิด-19
รหัสโครงการ 08/2564
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่4 บ้านกีเย๊าะ
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 54,214.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนานิง ระสูมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 904 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2564 จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  จำนวนมากกว่าวันละ 1,000 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในแต่ละวันเพิ่มขึ้น
      ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ได้รายงานผลพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,940 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 68,984 ราย หายป่วยแล้ว 39,258 ราย เสียชีวิตสะสม 245 ราย และข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 จังหวัดยะลา ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ได้รายงานผลพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 71 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ติดเชื้อเป็นประชาชนตำบลกรงปินัง จำนวน 20 ราย และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0211.3/ว 1733 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2563 เรื่อง มาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน แจ้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บูรณาการความร่วมมือของบุคลากรในหมู่บ้าน/ชุมชนทุกภาคส่วน ได้แก่ ข้าราชการ สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ฯลฯ ร่วมกันค้นหาและคัดหาและคัดกรองว่ามีคนในหมู่บ้านที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง เข้ามาพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือไม่ ซึ่งการปฏิบัติในกรณีที่หมู่บ้าน/ชุมชนใดมีผู้ที่เข้าข่าย ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจัดทำบัญชีรายชื่อ เพื่อเฝ้าติดตามสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และให้ขอความร่วมผู้นั้นให้งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ นอกหมู่บ้าน/ชุมชนไว้ก่อนหรือพักอาศัยอยู่แต่ในบ้านเรือนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คือกลุ่มประชาชนที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ดูแลสุขภาพประชาชนในครัวเรือนที่รับผิดชอบ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ให้ทันต่อสถานการณ์และมีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 4 บ้านกีเยาะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ในชุมชน ได้แก่การสำรวจค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ เป็นตัวกลางการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังประชาชนในชุมชนและการคัดกรองประชาชนตามมาตรการของส่วนราชการการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
2 เพื่อค้นหาประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัดและต่างประเทศและให้บริการตรวจคัดกรองเบื้องต้น

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นและประชาชนที่เข้าข่ายต้องสงสัยมีการกักตัวอยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00
4 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ไม่ให้แพร่กระจายสู่พื้นที่อื่น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1654 54,214.00 0 0.00
12 พ.ค. 64 กิจกรรมค้นหาประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ 50 0.00 -
12 พ.ค. 64 กิจกรรมคัดกรองเบื้องต้นและให้คำแนะนำประชาชนที่เข้าข่ายต้องสงสัยมีการกักตัวอยู่ที่บ้าน 200 40,206.00 -
12 พ.ค. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 904 0.00 -
12 พ.ค. 64 กิจกรรมทำความสะอาด ฆ่าเชื้อพื้นที่เสี่ยง 500 14,008.00 -

1.กิจกรรมค้นหาประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัดและต่างประเทศและให้บริการตรวจคัดกรองเบื้องต้น 2.กิจกรรมคัดกรองเบื้องต้นและให้คำแนะนำประชาชนที่เข้าข่ายต้องสงสัยมีการกักตัวอยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด การเว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือที่ถูกวิธี 4.กิจกรรมทำความสะอาด ฆ่าเชื้อพื้นที่เสี่ยงไม่ให้แพร่กระจายสู่พื้นที่อื่น เช่น มัสยิด บ้านกลุ่มเสี่ยงและบ้านผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.ประชาชนที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัดและต่างประเทศและให้บริการตรวจคัดกรองเบื้องต้น 3.ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นและประชาชนที่เข้าข่ายต้องสงสัยมีการกักตัวอยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    4.สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และไม่แพร่กระจายสู่พื้นที่อื่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2564 11:16 น.