กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 64-L1529-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประยงค์ ขวัญสิริดำรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 188 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธาณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2548) พบว่าอันตรายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ VIA ในสตรีไทยอายุ 30-60 ปี กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม 5 ปี โดยในแต่ละปีงบประมาณจะต้องมีผลงานการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ผลงาน พ.ศ.2563 - 2567 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เห็นความสำคัญของปัญหานี้ เนื่องจากตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 จนถึง 2564 สตรีกลุ่มอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียงร้อยละ 32.16 (294 ราย) จากเป้าหมาย 938 คน ซึ่งในปี 2564ต้องได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งในปี 2563ผลการคัดกรองสมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 32.16 (294 ราย) และตรวจพบผิดปกติ ส่งต่อพบแพทย์ จำนวน 3 ราย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสูขภาพตำบลท่างิ้วจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในปีงบประมาณ 2564 เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่่ยงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม

เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยง ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

0.00
2 ๒.เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความรู้และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

๒.เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความรู้และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓.เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

๓.เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.กิจกรรมอบรมให้ความรุู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ตรวจ PAPและตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ 2.กิจกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านม หญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี -ค่าอาหารว่าง ๒ มื้อx๒๕บาทx๑๘๘คน = ๙,๔๐๐ บาท -ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อ ๆ ละ ๕๐ บาทx๑๘๘คน = ๙,๔๐๐ บาท -ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ๕ บาทx๑๘๘ ชุด = ๙๔๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๙,๗๔๐ บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ ๒.สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป มีความรู้และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ ๓.สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2564 14:47 น.