กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
รหัสโครงการ 64-50105-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลชะมวง
วันที่อนุมัติ 14 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,464.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร สงนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งสถานการณทั่วโลกมีผู้ป่วยจำนวน 161,080,616 รายเสียชีวิต 3,345,018 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 93,794 ราย กลับบ้านแล้ว 60,615 ราย เสียชีวิตจำนวน 518 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 4,887 ราย (ข้อมูลจาก: รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณวันที่ 13พฤษภาคม 2564) และจากการติดตามดูข้อมูลย้อนหลังสถานการณ์รายวันจะเห็นว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
ในส่วนของจังหวัดพัทลุงเองก็มีแนวโน้มการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน โดยในอำเภอควนขนุนเป็นพื้นที่เสี่ยงลำดับที่ 2 ของจังหวัด มีจำนวนผู้ติดเชื่อจำนวน87คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2564) จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลควนขนุนก็เกินกำลังความสามารถจนต้องประกาศงดรับผู้ป่วยทั่วไปแล้วแม้ว่าทางจังหวัดจะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรค และการเชิญชวนให้มีการลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากคนในพื้นที่น้อย เนื่องจากการณรงค์ดังกล่าวยังอาจเข้าไม่ถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จากสถานการณ์ข้างต้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลชะมวง ตระหนักว่าหากไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจทำให้การแพร่ระบาดของโรครุนแรงขึ้น และแนวทางสำคัญที่จะระงับการแพร่ระบาดได้นั้นคือการปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A และการได้รับวัคซีน ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการเพื่อการณณรงค์เชิงรุกในพื้นที่เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบและมีความตระหนักถึงการได้รับวัคซีนและการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในพื้นที่ของตำบลชะมวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

ประชาชนได้รับการฉัดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ  70

100.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฎิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A

ประชาชนปฎิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A คือ อยู่ห่างไว้ ใส่แมสกัน หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจเชื้อโควิด-19 ใช้แอปฯไทยชนะ อย่างน้อยร้อยละ 80

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 17000 34,464.00 2 34,464.00
17 - 31 พ.ค. 64 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) 8,500 20,432.00 20,432.00
17 พ.ค. 64 ส่งเสริม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฎิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A 8,500 14,032.00 14,032.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19)
  2. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) เพิ่มมากขึ้น
  3. มีการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 00:00 น.