กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) ระยะ2
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากช่องนานา (ประปา)
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2563 - 31 ตุลาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณ 42,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ละติจูด-ลองจิจูด 14.680658,101.399981place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ถึงวันนี้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019“ โควิด -19” ยังคงมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศล่าสุด (12 มีนาคม) ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข (ส ธ .) รายงานว่าผู้ป่วยยืนยันรวมในกว่า 120 ประเทศทั่วโลกด้วยจำนวนผู้ป่วย 126,643 รายในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 5,708 รายเสียชีวิต 4,638 รายซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นโรคระบาดในระดับโลก (pandemic) สำหรับประเทศไทยแม้จะมีความพยายามในการควบคุมโรคโดยการตรวจจับผู้ป่วยให้ได้อย่างรวดเร็วแยกโรคและติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกรายทำให้การระบาดยังอยู่ในวง จำกัด ในระยะที่ผ่านมา (phase 2) อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ประเทศไทยจะพบการระบาดในวงกว้างและเกิดการระบาดใหม่อีกครั้งหรือกลายเป็นโรคประจำถิ่นและในประเทศไทยเราที่ผ่านมาทำให้ไทยสามารถชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่งซึ่งเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการใช้มาตรการต่างๆร่วมกันและมาตรการควบคุมโรคจะมีประสิทธิภาพต่อไปหรือไม่ต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีจากภาคประชาชนดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาความพร้อมและอัพเดตความรู้เพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกและทันกับสถานการณ์ของโรคอย่างเป็นปัจจุบันทางคลินิกหมอครอบครัวประปาจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจึงต้องจัดทำโครงการฯ นี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาความพร้อมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ และเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะที่ 2

ทำให้ได้ความรู้ คำแนะนำ และเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะที่ 2

0.00
2 2.เฝ้าระวัง คัดกรอง สอบสวนและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อย่างเข้มงวดต่อเนื่องและบันทึกรายงาน

ทำให้เฝ้าระวัง คัดกรอง สอบสวนและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อย่างเข้มงวดต่อเนื่องและบันทึกรายงาน

0.00
3 3.ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพโดยทีมภาคีเครือข่ายในชุมชน

ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพโดยทีมภาคีเครือข่ายในชุมชน

0.00
4 4.เพื่อจัดหาอุปกรณ์การคัดกรองให้พร้อมใช้งาน

ทำให้จัดหาอุปกรณ์การคัดกรองให้พร้อมใช้งาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ย. 63 - 31 ต.ค. 64 โครงการพัฒนาความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) ระยะ2 0 42,900.00 -
รวม 0 42,900.00 0 0.00
  1. วางแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) ระยะที่ 2 2. ประชุมทีมเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ (SAT) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โรคและภัยรวมถึงรายงานทันเวลา 3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานระบบเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้นและภัยสุขภาพแก่ภาคีเครือข่ายของซุมซม 4. ติดตามและเฝ้าระวังเยียวยาจิตใจผู้ที่ได้รับการควบคุมสังเกตอาการหรือกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบ 5. จัดหาเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายสำหรับการคัดกรองและติดตามกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน 6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชนไม่ให้เกิดความประมาทหรือชะล่าใจในการป้องกันโรค 7. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติซ้ำได้
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและร่วมกันเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลจากทีมภาคีเครือข่ายสุขภาพและเข้าถึงบริการสุขภาพ
  4. มีวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการระบาดของโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 12:24 น.