กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีตำบลพร่อนใส่ใจมะเร็ง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L4137-17-01-64
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหาสน๊ะ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 12,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2563 ได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็ง    ที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 11,250 ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,221 ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7 คน/วัน เป็น 14 คน/วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ 30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงและหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
สถานการณ์โรคมะเร็ง ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา เมื่อปี พ.ศ.2563 พบผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 2 ราย และพบผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 3 ราย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะที่ 3 – 4 ทั้งสิ้น ซึ่งไม่ทราบล่วงหน้าว่าตนเองป่วยเพราะไม่มีอาการนำแต่อย่างใด
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา จึงได้จัดทำโครงการสตรีตำบลพร่อนใส่ใจมะเร็งในปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ Pap Smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นในสตรีอายุ 30-60 ปี ในพื้นที่ตำบลพร่อน รวมจำนวน 1,089 คน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย  ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และสอนทักษะในการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมประจำทุกปี

ร้อยละ 80 มีทักษะในการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมต้องได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวน กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มสำรวจเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ
    1.2 แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่อสม. เพื่อติดตาม แนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม 1.3 แจ้งแผนการดำเนินการรณรงค์แก่ อสม.
      2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและ   กำหนดตรวจในสถานบริการ ในทุกวันศุกร์ 2.2 ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการที่กำหนดใน   ครัวเรือน 2.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรอง         มะเร็งปากมดลูกและให้การแนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ 2.4 ส่งแผ่น Slide ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลยะลา 2.5 รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลยะลา 2.6 ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 2.7 ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
    2.8 บันทึกบันทึกผลการทำใน program pap สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปี
    2.9 เยี่ยมบ้านสร้างสัมพันธภาพ เยี่ยมบ้านด้วยใจหมออนามัย
    2.10 สรุป โครงการทุกเดือน รวมทั้งอสม. เพื่อสรุปปัญหาของโครงการและหาแนวทางแก้ไข 2.11 สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 14:45 น.