กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี 2560
รหัสโครงการ 10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคอใต้
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหมัด เตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคอบน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.73,101.352place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2560 30 ก.ย. 2560 24,500.00
รวมงบประมาณ 24,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 153 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปี 2559 ในเขตรับผิดชองของ รพ.สต.สาคอใต้ พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 87 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและขาดการอกกำลังกายเป็นส่วนใหญ่ จากการคัดกรองผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เขตรับผิดชอบของรพ.สต.สาคอใต้ พบว่า ผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 606 คน พบผู้มีภาวะเสี่ยงสูงปานกลาง จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 25.28 ในกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงสูงปานกลาง ถ้าไม่ได้รับการดูแล หรือกาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาะต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก้คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตูง ก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตปกติ ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกาย มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน การแสดงอาหารเนื่องจากความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง จะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก้อค่อยๆ ปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ยกเว้นในรายที่มีการสูงมา อาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศรีษะรุนแรง เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน่ี่เป็นอันรตายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสี่ยชีวิต ดังนั้น จึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงว่าเป็น "ภัยเงียบ" หรือ "ฆาตรกรเงียบ" นั่นเอง ด้วยความตระหนักถึงัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงทาง รพ.สต.สาคอใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน และการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยขอความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ในการขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อความครอบคลุมในการจัดโครงการในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้

ร้อยละ 80 มีพฤติกรรมในกรดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อทราบถึงเนื้อหาของโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ
  3. ประสานวิทยากรและอสม.ในแต่ละหมู่บ้านเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ
  4. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิโรคความดันโลหิตสูง และตรวจสุขภาพ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต
  5. ประเมินผลโครงการ ดังนี้ 5.1 ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรม ประเมินจากแบบสอบถามเรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและสุขภาพจิต ก่อนแลหลังอบรม เกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น 5.2 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรม ประเมินจากแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ การออกกำลังาย เกณฑ์ร้อยละ 80 มีพฤติกรรมในกรดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2560 14:42 น.