โครงการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ปี 2564 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโล๊ะแน็ง อ.เมืองนราธิวาส |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 37,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสรียา บินดอเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.33,101.804place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยงานส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโล๊ะแน็ง มีความประสงค์จะจัดทำโครงการโดยมีเป้าหมายเพื่อดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิด จนถึง 6 ปีให้มีภาวะโภชนาการปกติ มีน้ำหนักตามเกณฑ์และมีส่วนสูงดี สมส่วนตลอดจนมีพัฒนาการสมวัยเพื่อจะได้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโล๊ะแน็ง จึงได้จัดทำโครงการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆโดยมีรายละเอียดดังนี้ โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในเด็ก หากมีสิ่งใดมาทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักไป จะเป็นผลเสียต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง อาจทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้อยไปได้ เด็กจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย เด็กควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลายชนิด วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริม ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโล๊ะแน็งยังพบว่ามีปัญหาเด็ก แรกเกิด ถึง 6 ปียังมีภาวะทุพโภชนาการอยู่ค่อนข้างสูงคิดเป็นร้อยละ 13.50ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขถึง 1 เท่าตัวคือ ร้อยละ 7.0 และในส่วนของการเฝ้าระวังภาวะพัฒนาการในเด็ก ๕ กลุ่มวัย คือ อายุ 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน 4๒ เดือนและ 60 เดือน พบว่ามีภาวะสงสัยพัฒนาการล่าช้า มากกว่า ร้อยละ 20 และยังมีกลุ่มเด็กที่อยู่นอกเหนือกลุ่มวัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพัฒนาการ ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและ ส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก แรกเกิด ถึง 6 ปี จึงต้องมีการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโดยให้กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสาเหตุ ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานทั้งการสร้างเสริมป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน (แรกเกิด ถึง 6 ปี)อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบให้มากยิ่งขึ้น จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อรองรับและ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามโครงการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี โภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รพ.สต.บ้านตะโล๊ะแน็ง อำเภอเมืองนราธิวาส ปี 256๔ ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อคัดกรองพัฒนาการอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ และ 60 เดือน เด็กอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ และ60 เดือนได้รับการคัดกรองพัฒนาการ มากกว่าร้อยละ ๙๕ |
0.00 | |
2 | เด็กแรกเกิด-๖๐เดือนทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กแรกเกิด-๖๐เดือนทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐ |
0.00 | |
3 | เพื่อเสริมพลังครอบครัวในการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เด็กอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ และ 60 เดือน ที่มีพัฒนาการไม่สมวัย ได้รับการติดตาม มากกว่าร้อยละ ๙๐ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ประชุมชี้แจงการดำเนินงาตามโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
จัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย/ งานแผนการดำเนินงาน
ประชาสัมพันธ์โครงการ/นัดหมายวันเวลาลงพื้นที่
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องพัฒนาการเด็กตามกลุ่มวัย การกระตุ้นพัฒนาการ และการบริโภคอาหารตามวัย
ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กตามอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ และ ๖๐ เดือน
รณรงค์ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง และแปรผล
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า แนะนำผู้ปกครองกระตุ้นพัฒนาการ และนำมาตรวจซ้ำ ๑ เดือน
ติดตามชั่งน้ำนักเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เดือนละ ๑ ครั้ง
สรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.เด็กอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, 42 และ 60 เดือนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามกลุ่มวัยทุกคน
2.เด็กแรกเกิด-๖๐ เดือนทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
3.เด็กอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ และ 60 เดือนที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นและพบแพทย์
4.ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้และสามารถดูแลฝึกเด็กให้มีพัฒนาการตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 10:14 น.