กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและยับยั้งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 4 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 57,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนเรศ ดวงยอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม 2563– 19 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจานวน 141,999,278.ราย เสียชีวิต 3,032,862. ราย ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 43,742 ราย เสียชีวิต 104ราย ในส่วนของจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อระลอกแรกจำนวน 139ราย และระลอก2 จำนวน 236 ราย สะสมรวม 375 ราย สำหรับอำเภอสะบ้าย้อยยังไม่พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อภายในอำเภอ มีเพียงผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจากต่างอำเภอ และประเทศเพื่อนบ้านรวมจำนวน 5 ราย แต่สิ่งสำคัญของอำเภอสะบ้าย้อยที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ระบาดของโรคโควิด19 เข้ามาอย่างต่อเนื่อง มาจากต่างประเทศ 1,440 ราย มาจากจังหวัดทั้งพื้นที่เฝ้าระวังควบคุมสูงสุดเข้มงวด และพื้นที่เฝ้าระวังควบคุม จำนวน 118 ราย ประกอบกับการระบาดของโรคในรอบใหม่ที่มีความรุนแรงขยายกระจายเป็นวงกว้างครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แม้ทางจังหวัดสงขลามีคำสั่งประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานลงนามในคำสั่งมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าประชาชนในพื้นที่บางส่วนทั้งในส่วนบุคคลสุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปยังไม่เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ถือเป็นปัจจัยและสภาวะเสี่ยงที่จะเกิดการสัมผัสแพร่เชื้อ เกิดการระบาดของโรคโควิด 19ขยายเป็นวงกว้างต่อไป (ข้อมูลจาก : ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 19 เมษายน 2564)
ในเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง พบว่ามีบุคคลกลุ่มเสี่ยงเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการให้บริการประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพหลวง ซึ่งทุกวันจะมีผู้มารับบริการหลากหลายทุกกลุ่มวัย เฉลี่ย 30 คน ต่อวัน จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัจจัยก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้ ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ที่สำคัญ รพ.สต.ทัพหลวงในฐานะรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โดยมีแนวทางปรับระบบบริการเพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างกลุ่มผู้มารับบริการทั่วไป กับกลุ่ม หรือบุคคล ที่มารับบริการเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ บุคคลสุ่มเสี่ยง ตลอดถึงบุคคลสัมผัสใกล้ชิดบุคคลสุ่มเสี่ยง โดยเพิ่มการจัดตั้งจุดบริการเป็นคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ(ARI Clinic) ใช้เป็นช่องทางเฉพาะในกลุ่มบุคคลกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสและการแพร่กระจายเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค และการระบาดของโรคโควิด19 ที่มีประสิทธิภาพ ทันต่อสภาวการณ์ ทั้งต่อผู้รับบริการตรวจรักษาโรค ประชาชนทั่วไป หรือผู้มาติดต่อราชการ รวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขผู้ให้บริการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อมีระบบบริการของคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ในรพ.สต.ช่วยลดและหลีกเลี่ยงการสัมสัมผัสระหว่างบุคคลผู้มารับบริการทั่วไป กับ ผู้มารับบริการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บุคคลสุ่มเสี่ยง เกิดประสิทธิผลที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่เชื้อ ยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ตลอดจนบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการ อย่างทันท่วงที

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน วิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางป้องกันแก้ไข
รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
- ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดาเนินงาน
2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.คูหา
3.ขั้นตอนการดาเนินงาน
1. เพิ่มคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) เพื่อให้บริการเฉพาะผู้รับบริการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บุคคลสุ่มเสี่ยงโรคโควิด19 หรือ ผู้สัมผัสบุคคลสุ่มเสี่ยง โดยจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ จัดบุคลากรผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขแยกส่วนกับผู้มารับบริการทั่วไป 2.ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ กับประชาชนถึงการปฏิบติตัวในรูปแบบและระบบบริการดังกล่าวเพื่อความมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
4.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ปรับระบบให้เหมาะสม ทันต่อสถานการณ์ อย่างมีประสิทธิภาพ 5.สรุปผลการดาเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีระบบการให้บริการที่แยกส่วนของคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ กับ คลินิกบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป ที่มีคุณภาพ
  2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
  3. ประชาชนในพื้นที่ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  4. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 10:44 น.