กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
รหัสโครงการ 64-L8409-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 มิถุนายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 64,730.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease ๒๐๑๙” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี ๒๕๔๕ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓
เวลา ๒๑.๐๐ น. มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกรวม ๖๒ ประเทศ ๒ เขตบริหารพิเศษและเรือ Diamond Princess รวมจำนวน ๘๖,๙๙๓ ราย มีอาการรุนแรง ๗,๕๖๗ ราย เสียชีวิต ๒,๙๘๐ ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง ๓,๒๕๒ ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อสะสม ๔๒ ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล ๓๑ ราย อยู่ระหว่างการรักษา ๑๐ ราย ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง ๑ ราย ผู้ป่วยยืนยันเสียชีวิต ๑ ราย การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ในหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทย ที่ขณะนี้พบผู้ป่วยติดเชื่อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นจำนวน ๘๖,๙๒๔ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ๒๙,๔๓๕ราย รักษาหายแพทย์ให้กลับบ้าน ๕๗,๐๓๗ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต ๔๕๒ราย(ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑พฤษภาคม 2564) และในพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ไม่พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ในส่วนของจังหวัดสตูลพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วจำนวน ๑๖ ราย และพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รอบๆจังหวัดสตูลเช่น สงขลา พัทลุง ตรัง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา รวมถึงประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับจังหวัดสตูล ประเทศไทย ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลฉลุง และพื้นที่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก
ประกอบกับ จังหวัดสตูลได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สต ๐๐๒๓.๓/ว๒๓๘๑ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ เรื่อง มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับอำเภอและหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดเพื่อคัดกรองและค้นหาเชิงรุกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19) และหนังสือด่วนที่สุด ที่ สต ๐๐๒๓.๓/ว๒๖๔๔ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดเพื่อคัดกรองและค้นหาเชิงรุกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19)

เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการ ที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ และการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ โดยการตั้งจุดตรวจในพื้นที่ตำบลฉลุงดังนั้น การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานได้แก่ หน่วยบริการสถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยราชการ ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)ในพื้นที่ตำบลฉลุง ปีงบประมาณ2564 ขึ้นเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19)เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล(29)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) 1.2เพื่อให้ภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 1.3เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่งทราบ
2.2รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙
(COVID-๑๙) 2.3จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.4 จัดตั้งจุดเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ...
งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุงจำนวน ๖๔,๗๓๐.-บาท (หกหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)สำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ 6.1กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒๐ x ๒.๕๐ เมตร (ตรม.ละ ๑๕๐ บาท) จำนวน ๑๖ ป้าย ป้ายละ ๔๕๐ บาท เป็นเงินจำนวน ๗,๒๐๐ บาท

๖.๒กิจกรรมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) -ค่าจัดซื้อหน้ากากอนามัย จำนวน ๑๐ กล่องๆละ ๑๒๕ บาท เป็นเงินจำนวน ๑,๒๕๐ บาท -ค่าจัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ จำนวน๒ แกลลอนๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท -ค่าจัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิพร้อมขาตั้ง จำนวน ๒ เครื่องๆละ ๒,๕๐๐ บาท
เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท

6.๓กิจกรรมจัดตั้งจุดเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙
(COVID-๑๙)
  -ค่าอาหารสำหรับผู้ที่อยู่จุดเฝ้าระวังฯ จำนวน ๒ มื้อๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๘ คน จำนวน ๔๔ วัน เป็นเงินจำนวน ๓๕,๒๐๐ บาท -ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้ที่อยู่จุดเฝ้าระวังฯ จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๐ บาท จำนวน ๘ คน
จำนวน ๔๔ วัน เป็นเงินจำนวน ๑๔,๐๘๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๔,๗๓๐.-บาท (หกหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยสามสิบบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1มีการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เชิงรุก 7.2ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 7.3ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2021 12:24 น.