กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รหัสโครงการ 64 -L1515- 05 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมบัติ กุลกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน และตามที่ประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ได้พิจารณาสั่งการ เนื่องจากเล็งเห็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ประกอบกับข้อมูลจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง พบว่า สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่เมษายน 2564 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 16 พฤษภาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสม 277 ราย อำเภอเมือง 66 ราย ,อำเภอกันตัง 91 ราย ,อำเภอย่านตาขาว 6 ราย ,อำเภอปะเหลียน 2 ราย ,อำเภอสิเกา 6 ราย,อำเภอห้วยยอด 13 ราย ,อำเภอวังวิเศษ 3 ราย ,อำเภอนาโยง 27 ราย ,อำเภอรัษฎา 63 ราย ,และอำเภอหาดสำราญ ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ ซึ่งจากคำแนะนำของอธิบดีกรมอนามัย การฉีดพ่นในอาคารหรือพื้นที่ปิด เป็นทางเลือกในการดำเนินการได้สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ คือชนิดสารเคมีที่ใช้ระยะเวลาการฆ่าเชื้อ (contact time) และความสะอาดของพื้นผิว ซึ่งสารฆ่าเชื้อจะออกฤทธิ์ได้ดีนั้น ต้องทำความสะอาดพื้นผิวก่อน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ต้องทำในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้กฎหมาย ตามมาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา 16 (19)      การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่มท 0808.2/ ว1727 ลว. 21 มีนาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVIT 19)) สำนักปลัด (งานบริหารงานสาธารณสุข) จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุม และลดความเสี่ยง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ร้อยละ 80 สามารถควบคุม และลดความเสี่ยง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

0.00
2 เพื่อให้สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ศพด. ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน สถานที่กักตัว และครัวเรือนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไดรับการพ่นน้ำยาฆาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ร้อยละ 100 ของสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ศพด. ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน สถานที่กักตัว และครัวเรือนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไดรับการพ่นน้ำยาฆาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,090.00 1 32,090.00
17 พ.ค. 64 กิจกรรมพ่นน้ำยาฆาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ศพด. ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน สถานที่กักตัว และครัวเรือนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตรับผิดชอบอบต.หนองปรือ 0 32,090.00 32,090.00

3.1 ขั้นตอนการเตรียมการ 1. ตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานการณ์โรคโคโรนา COVID 19 ที่เกิดขึ้นในจังหวัด 2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 3. ประสานงานกับเจ้าที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 4. ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 ๑๙ (COVID-๑๙) 3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน 5. ทำกิจกรรมพ่นน้ำยาฆาเชื้อ ตามสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ศพด. ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน สถานที่กักตัว และครัวเรือนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตรับผิดชอบอบต.หนองปรือ 3.3 ขั้นตอนการติดตามผล 6. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
7. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 สามารถควบคุม และลดความเสี่ยง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 7.2 สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ศพด. ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน สถานที่กักตัว และครัวเรือนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไดรับการพ่นน้ำยาฆาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 13:41 น.