กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากช่องนานา (คลินิกหมอครอบครัวหนองกะจะ)
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 56,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ในเขตคลินิกหมอครอบครัวหนองกะจะ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น“ ภัยเงียบ” เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลาระบบของร่างกายเช่นตาไตเท้าและหลอดเลือดในประเทศไทยนั้นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงใน แต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากการดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้ จำกัด อยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อนนอกจากนี้ยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเองและร่วมหารือและแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกเขตพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงตามภาวะกระแสโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปเช่นพฤติกรรมการบริโภคมักนิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงโปรตีนสูงกากใยน้อยขาดการออกกำลังกายมีความเครียดสูงส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้เป็นภัยเงียบที่รักษาไม่หายและยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมายเช่นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองสำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวมักเกิดจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้องพร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้นก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนดังนั้นคลินิกหมอครอบครัวหนองกะจะได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวและได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข

ผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยความดันโลหิตสูงผู้ป่วยโรคไตมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในเรื่องโภชนาการอาหารและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคร้อยละ 100

60.00 100.00
2 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลนเลือดของผู้ป่วย

ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80

50.00 80.00
3 3. เพื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้แก่เครือข่ายเพื่อนช่วนเพื่อนในการไปช่วยดูแลกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง
  1. ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงและโรคไตมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 90
  2. มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
60.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ 130 38,500.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 ติดตามกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ 40 9,200.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 เพื่อนช่วยเพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 40 9,200.00 -
รวม 210 56,900.00 0 0.00

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ 1.1 อบรมให้ความรู้รายกลุ่มเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
1.2 ให้ความรู้ในผู้ป่วยที่มีค่าระดับการทำงานของไตลดลง GFR น้อยกว่า ๖๐
1.3 ค้นหาผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตสูงได้อย่างต่อเนื่องโดยมีค่าสูงเกินเกณฑ์ติดต่อกันอย่างน้อยตครั้งเพื่อเข้ากลุ่มติดตามการปรับพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดหรือควบคุมให้ระดับเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ กิจกรรมที่ 2 2.1 ติดตามกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
2.2 ให้ความรู้ในรายบุคคลที่ไม่สามารถ Uncontrol ระดับน้ำตาลได้ 2.3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
2.4 จับคู่บัดดี้เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันเป็นที่ปรึกษาให้แก่กัน
2.5 นัด F / U ติดตามผล DTX ต่อเนื่องทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 1 เดือนเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องและวางแผนดำเนินการช่วยเหลือแก้ไข กิจกรรมที่ 3 3.1 ติดตามกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและมีค่าระดับความดันสูงต่อเนื่อง
3.2 กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 3.3 นัด F / U ติดตาม BP ต่อเนื่องทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 1 เดือนเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ค่าระดับความดันโลหิตสูงต่อเนื่องและวางแผนดำเนินการช่วยเหลือแก้ไข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยความดันโลหิตสูงผู้ป่วยโรคไตมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในเรื่องโภชนาการอาหารและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคร้อยละ 100
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงและโรคไตมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 100
  4. มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 20:23 น.