กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากช่องนานา (คลินิกหมอครอบครัวประปา)
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ในเขตคลินิกหมอครอบครัวประปา ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ไม่มีการเฝ้าระวังสุขภาพ
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุขแบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้านคือการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นสามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเช่นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงโรคหัวใจอุบัติเหตุ ฯลฯ การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมสนับสนุนรวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เองดังนั้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุกพัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมค่านิยมของประชาชนเกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และแกนนำประชาชนที่เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพเป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานคอยให้การช่วยเหลือเป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมานโยบายการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วยทั้งนี้ทางคลินิกหมอครอบครัวประปาจึงจัดกิจกรรมโครงการอยรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชนปีงบประมาณ 2564 นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการและการแสที่เปลี่ยนองค์ความรู้เพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุข (อสมรวมถึงแกนนำประชาชนที่เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพซึ่งจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะที่จำเป็นของภาคีเครือข่ายและตัวแทนภาคประชาชนในการปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

ร้อยละของประชาชนมีความรู้ทักษะที่จำเป็นของภาคีเครือข่ายและตัวแทนภาคประชาชนในการปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชนมากขึ้น

80.00
2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพตนเองให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมอบรมและขยายผลในชุมชน

ร้อยละของผู้เข้าร่วมมีความความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

80.00
4 เพื่อให้มีความรู้มีทักษะในการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน

ร้อยละของประชาชนมีความรู้มีทักษะในการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบันมากขึ้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพื่อเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ 0 20,000.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ฐานการให้ความรู้ 0 27,000.00 -
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพื่อเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่
  2. แบ่งฐานการให้ความรู้ออกเป็น 3 ฐานดังนี้ ฐานที่ 1 การใช้ยาแผนปัจจุบันและการใช้ยาแผนไทย ฐานที่ 2 การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ เจาะเลือดตรวจน้ำตาล / วัดความดันโลหิตสูงและการวัดไข้ ฐานที่ 3 การเรียนรู้โรคระบาดและการแพร่กระจายโรคในชุมชนรวมถึงการสื่อสารแบบ Real Time ด้วย Smartphone
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย 3 หมอต่อครอบครัวร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังด้านสุขภาพทั้งโรคไม่ติดต่อและโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2564 22:39 น.