โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ |
รหัสโครงการ | 64-L3331-05-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ |
วันที่อนุมัติ | 25 กันยายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 5,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางคันธจุฬาลักษณ์ช. ปลอดฟัก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 21 พ.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 21 พ.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 5,000.00 | |
รวมงบประมาณ | 5,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 2000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง | 60.00 | ||
2 | ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 | 60.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้ออุบัติใหม่ (โรคติดต่อที่เคยยับยั้งได้แล้วกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งเรียกว่าโรคอุบัติใหม่) ตลอดจนภัยอื่นๆ และหากเกิดขึ้นแล้วอาจระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ อันมีผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน รวมทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนที่เกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ปลอดภัย อย่างทันท่วงทีในทุกสถานการณ์
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้เป็นอย่างดีและตระหนักอยู่เสมอว่าในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐ จึงควรมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง |
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 |
60.00 | 80.00 |
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.กิจกรรม : ผลิตสื่อเพื่อรณรงค์ป้องกันควบคุมCOVID –19
1) เตรียมข้อมูลการจัดทำสื่อ
1. คลิปเสียงประชาสัมพันธ์
2) จัดทำสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโควิด-19เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชน
3) รณรงค์และประชาสัมพันธ์การในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
3. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้ผู้บริหารทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
1.ปชช.มีความเข้าใจเรื่องโรค Covid-19
2.ปชช.มีพฤติกรรมที่สามารถป้องกัน Covid-19
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 10:46 น.