เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Corona disease 2019 (COVID-19)) ร.ร.ท.1 ประจำปีการศึกษา 2564
ชื่อโครงการ | เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Corona disease 2019 (COVID-19)) ร.ร.ท.1 ประจำปีการศึกษา 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L7258-2-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤษภาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2564 - 30 ธันวาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 99,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณรงค์ รัฐภูมิภักดิ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยเข้าสู่การระบาดในระยะที่ ๓ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดย คำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จาก โรคดังกล่าว ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท 0211.3/ 1538 เรื่อง การบริหารจัดการสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในเขต พื้นที่จังหวัด สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ประเทศไทยขณะนี้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ระลอกที่ ๓ โดยมีคลัสเตอร์มาจากสถานบันเทิงในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพ นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปใน 77 จังหวัด มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 45,185 คน (นับจากวันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2564) รักษาหายแล้ว 28,958 คน เสียชีวิต 108 คน ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ข้อมูลจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 20 เมษายน 2564 จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 17,780 คน จำนวนผู้ปวยติดเชื้อในประเทศ จำนน 16 คน สำหรับพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ มีผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ และในพื้นที่จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณรี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว ภูเก็ต สงขลา ตาก อุดรธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร (เฉพาะเขตบางแค เขตวัฒนา เขตคลองเตย) เข้ามาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน (Home Quarantine) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 พบว่าในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ มีจำนวนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยงโรค จำนวน 280 คน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน จำนวน 88 ราย และมีผู้ติดเชื้อจากพื้นที่ข้างเคียงและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ราย จากข้อมูล Time Line ของผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง กระจายในพื้นที่ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เริ่มพบผู้ติดเชื้อที่เกี่ยวพันกับที่พบผู้ติดเชื้อจากสถานบันเทิงในกรุงเพทมหานคร ได้เดินทางเข้าพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อมาประกอบกิจกรรมเนื่องในเทศกาลเชงเมังหรือไหวับรรพบุรุษ และใน เดือนเมษายน 2564 เป็นเดือนแห่งเทศกาลสงกรานต์ วันครอบครัวและวันผู้สูงอายุที่ประชาชนต่างทยอยเตินทางกลับ ภูมิลำเนาและเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว เนื่องพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นพื้นที่ผ่านธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวที่ สำคัญของจังหวัดสงขลา และเป็นย่านที่มีสถานบันเทิงที่มีชื่อเสียงของอำเภอหาดใหญ่ จึงทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ที่พบผู้ ติดเชื้อจำนวนมาก จำนวน 80 ราย จากสถานบันเทิงในเขตเทศบาลนรหาดใหญ่ 5 แห่ง และนอกเขตเทศบาลนคร หาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง ที่เกี่ยวโยงกันและมีผู้สัมผัสใกล้ชิดมากกว่า 700 คน ประกอบกับรัฐบาลมี 1) ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 11 ) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ขยายระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อดำเนินการมาตรการควบคุม ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ 2) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ได้มีคำสั่งฯ ที่ 13/256 ลงวันที่ 7 มษายน 2564 เรื่อง ให้ประซาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งเมื่อออกจากความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด 3) หนังสือด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/21727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่าย งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด- 19 4) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 79 วรรคสอง การซื้อหรือจ้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้น ดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม 5) ประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นดำเนินงานและการ บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) w.ศ.2563 6) หนังสือด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 2120 ลงวันที่ 9 เมษายน 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือประชาชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 สำหรับในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 2,303 คน ซึ่งโรงเรียนมีอาคารเรียน 8 หลัง อาคาร ประกอบ 2 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 2 หลัง สนามฟุตบอล เป็นพื้นที่ใช้สอยที่ค่อนข้างจะคับแคบเมื่อเทียบกับ จำนวนนักเรียน คณะครู และบุคลากร รวมกัน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการการเว้นระยะห่างระยะ ประมาณ 2 เมตรได้ ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) จึงต้องมีความจำเป็นที่มีมาตรการป้องกัน ดำเนินการป้องกันการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน 2019 (Coronavius Disease 2019 (COVD- 1 9) ให้กับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ในช่วงเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2564 และโรงเรียนได้มี มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีมาตรการคัดกรอง นักเรียน ครู บุคลากร และผู้มา ติดต่อราชการทุกคน เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณทางเข้าประตู 2 ประตู 3 ประตู 4 หน้าห้องสำนักงานทาง ขึ้นติดต่อราชการฝ่ายต่าง ๆ มีมาตรการให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู บุคลากร และผู้มาติดต่อราชการสวมใส่ หน้ากากอนามัยก่อนเข้ามาในโรงเรียน และตลอดเวลาเมื่ออยู่ในโรงเรียน ขอข้อมูลผู้ปกครองและนักเรียน ครู และบุคลากรให้ประวัติ เมื่อมีความเสี่ยงหรือไม่สบายจะต้องหยุดเรียนทันที หรือครูและบุคลากรต้องหยุดงาน และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ทราบ มีมาตรการจัดให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่เหลวหรือแอลกอฮอล์เจลอย่าง เพียงพอ มีมาตรการในการเว้นระยะห่างในห้องเรียน เน้นการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ ลูกบิดประตู ราวบันได ห้องน้ำ ห้องประชุม เป็นต้น ร่วมกับการจัดกลุ่ม สลับกันใช้งานเพื่อลดการสัมผัส ร่วมกันจำนวนมากลดวามแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่เกิดการรวมกลุ่มของนักเรียน มีการเผยแพร่ข้อมูลและให้ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 แก่นักเรียน ครูและบุคลากร และผู้ปกครองนักเรียนและขอความร่วมมือ กับผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการป้องกันโรค และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โรค ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักเรียน พนักงานครู บุคลากร และผู้ปกครองของ โรงเรียนเป็นสำคัญ จึงต้องมีมาตรการดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVD-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ลดผลกระทบต่อสุขภาพชองนักเรียน พนักงานครู บุคลากร และผู้ปกครอง ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) มีการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยง ในโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อย่างมีประสิทธิภาพ |
0.00 | |
2 | เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการ สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ในโรงเรียน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 5000 | 99,950.00 | 1 | 99,950.00 | 0.00 | |
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavius Disease 2019 (COVID-19) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ | 5,000 | 99,950.00 | ✔ | 99,950.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 5,000 | 99,950.00 | 1 | 99,950.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผนงาน ร่วมประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเสนอนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การระงับกรระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) แก่กลุ่มป้าหมาย ตามระเบียบกระทรวงมหาตไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือ ประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 18 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - วางแผน ออกคำสั่งปฏิบัติงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมตามมาตรการป้องกันโรคฯ - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินการของโรงเรียน -ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ นักเรียน พนักงานครู บุคลากร และผู้ปกครองโดยผ่านสื่อต่าง ๆ - สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิต ๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันการติด เชื้อ และเป็นไปตามหนังสือสั่งการ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ จุดคัดกรอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลนักเรียน พนักงาน ครู บุคลากร ในการมาเรียน และจัดการเรียนการสอน - ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งข่าวสารให้แก่นักเรียน พนักงานครู บุคลากร และผู้ปกครองทราบ เป็นระยะ ๆ - สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ
- ลดการแพร่ระบาดของโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
- ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้
- การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2564 13:51 น.