กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2561
รหัสโครงการ 60-L6895-04-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายประสิทธิ์ แพใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ได้มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เมื่อวันที่28มิถุนายนพ.ศ. 2548โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพุทธศักราช 2550โดยเน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนทุกคนซึ่งกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆที่ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายจะต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นและการพิจารณางบประมาณต่าง ๆ นั้นสามารถสนับสนุนกิจกรรมใน5ลักษณะคือ1.สนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่2.การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น/หน่วยงานอื่น3.การสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง4.การบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ5.กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เทศบาลเมืองกันตังได้เข้าร่วมดำเนินการ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2551มีการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพฯและยังมีความจำเป็นในการพัฒนาและเสริมศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองกันตังขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองกันตังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯโรงเรียน องค์กรหน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่างๆ

 

2 เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีเครือข่ายสุขภาพ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดทำแผนสุขภาพ

 

3 เพื่อเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

 

4 เพื่อให้กองทุนสุขภาพมีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารกองทุนฯ

 

5 เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน ในการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเสมอภาค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
  2. เสนอแผนงานโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้เกี่ยวข้องพร้อมจัดทำแผนสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายต่างๆ
  5. จัดทำแผนสุขภาพกองทุนสุขภาพและติดตามการนำแผนสุขภาพชุมชนไปดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดทำแผนสุขภาพ 2) คณะกรรมการฯสามารถเข้าใจในแนวทางบริหารกองทุนฯอย่างมีประสิทธิภาพ 3) เกิดการดำเนินงานอย่างบูรณาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรหน่วยงาน ชุมชนต่างๆ 4) มีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุนฯเพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารกองทุนฯ 5) ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงการบริการสุขภาพอย่างเสมอภาค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2560 10:52 น.