กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
รหัสโครงการ 64-L7580-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,136.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิรัต สวัสดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 285 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       เชื้อไวรัสโคโรนา (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV) ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ พบได้ทั่วโลก การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15 โดยพบเริ่มจากประเทศจีนแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก การติดเชื้อไวรัสโคโรนาในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด(Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้ และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุ และหากแสดงอาการมักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอ และ หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อยในเด็กแรกเกิด และทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน วิธีการแพร่โรค : แพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส (Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย (Droplet) จากผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยการ ไอ หรือจาม     สำหรับรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นการระบาดระลอก 3 เกิดจากสายพันธ์อังกฤษ ที่มีความสามารถในการระบาดมากกว่าสายพันธุ์ปกติ และนอกจากการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมากกว่าแล้ว การเกิดการกลายพันธุ์บริเวณพื้นผิวของตัวไวรัส”โปรตีนหนาม ส่งผลให้ไวรัสสามารถจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีมากกว่าไวรัสตัวเก่า ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ในประเทศมากกว่า 4,887 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 1,572 ราย ผู้ป่วยสะสม 64,891 ราย หายป่วยสะสม 33,189 ราย มีผู้เสียชีวิต 32 ราย ประเทศไทยจัดเป็นอันดับที่ 95 ของโลก ประเทศไทยได้ประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม จังหวัดสตูลอยู่ในกลุ่มพื้นที่ควบคุม เนื่องจากมีผู้ป่วยติดเชื้อฯ จำนวน 17 ราย และมีไทม์ไลน์ในการสัมผัสผู้คนในพื้นที่อีกจำนวนมาก

        โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ตำบลฉลุง อ.เมือง จ.สตูล เป็นโรงเรียนประจำตำบลมีพื้นที่ให้บริการในเขตและนอกเขตบริการ มีนักเรียนจากหลายพื้นที่มาใช้บริการนักเรียนที่มีพ่อแม่เป็นแรงงานจากประเทศพม่า และพ่อแม่ทำงานจากประเทศมาเลเซียโรงเรียนเป็นพื้นที่เสี่ยง จึงต้องมีการเร่งรัดดำเนินการ ป้องกันอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาฯ ในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลปราศจากผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ในพื้นที่โรงเรียนอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)

นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล มีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อให้สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ได้ทันท่วงที ไม่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อฯ และไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)ในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล

สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ได้ทันท่วงที ไม่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อฯ และไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)ในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 258 27,136.00 2 27,136.00
17 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดป้องกันและติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) 0 25,870.00 25,870.00
17 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) 258 1,266.00 1,266.00
  1. รณรงค์ให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)         2. เฝ้าระวังคัดกรองก่อนเข้าในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล         3. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)         2. สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ได้ทันท่วงที ไม่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อฯ และไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 16:12 น.