กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Desease 2019 (COVID-19)) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
รหัสโครงการ 64-L7258-1-47
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริการสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 96,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณตฤณ เพ็ชรมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยเข้าสู่การระบาดในระยะที่ ๓ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดย คำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จาก โรคดังกล่าว ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท 0211.3/ 1538 เรื่อง การบริหารจัดการสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในเขต พื้นที่จังหวัด สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ประเทศไทยขณะนี้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ระลอกที่ ๓ โดยมีคลัสเตอร์มาจากสถานบันเทิงในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพ นครปฐม นนทบุรี ชลบุรี แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปใน 77 จังหวัด มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 45,185 คน (นับจากวันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2564) รักษาหายแล้ว 28,958 คน เสียชีวิต 108 คน ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ข้อมูลจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 20 เมษายน 2564 จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 17,780 คน จำนวนผู้ปวยติดเชื้อในประเทศ จำนน 16 คน สำหรับพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ มีผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ และในพื้นที่จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณรี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว ภูเก็ต สงขลา ตาก อุดรธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร (เฉพาะเขตบางแค เขตวัฒนา เขตคลองเตย) เข้ามาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน (Home Quarantine) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 พบว่าในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ มีจำนวนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยงโรค จำนวน 280 คน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน จำนวน 88 ราย และมีผู้ติดเชื้อจากพื้นที่ข้างเคียงและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ราย จากข้อมูล Time Line ของผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง กระจายในพื้นที่ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก เริ่มพบผู้ติดเชื้อที่เกี่ยวพันกับที่พบผู้ติดเชื้อจากสถานบันเทิงในกรุงเพทมหานคร ได้เดินทางเข้าพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อมาประกอบกิจกรรมเนื่องในเทศกาลเชงเมังหรือไหวับรรพบุรุษ และใน เดือนเมษายน 2564 เป็นเดือนแห่งเทศกาลสงกรานต์ วันครอบครัวและวันผู้สูงอายุที่ประชาชนต่างทยอยเตินทางกลับ ภูมิลำเนาและเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว เนื่องพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นพื้นที่ผ่านธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวที่ สำคัญของจังหวัดสงขลา และเป็นย่านที่มีสถานบันเทิงที่มีชื่อเสียงของอำเภอหาดใหญ่ จึงทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ที่พบผู้ ติดเชื้อจำนวนมาก จำนวน 80 ราย จากสถานบันเทิงในเขตเทศบาลนรหาดใหญ่ 5 แห่ง และนอกเขตเทศบาลนคร หาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง ที่เกี่ยวโยงกันและมีผู้สัมผัสใกล้ชิดมากกว่า 700 คน ประกอบกับรัฐบาลมี 1) ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 11 ) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ขยายระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อดำเนินการมาตรการควบคุม ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ 2) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ได้มีคำสั่งฯ ที่ 13/256 ลงวันที่ 7 มษายน 2564 เรื่อง ให้ประซาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งเมื่อออกจากความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด ๓ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท ๑๘๐๘.๒/ว ๑๕๕๒ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจาก ประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด ๑๙ ๔)หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท ๑๘๐๘.๒/ ๑๖๐๒ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง ยกเว้นการใช้ จ่ายเงินสะสมในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาด ต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) 5) หนังสือด่วนที่สุดที่ มท .๘๐๘.๒/ว๑๗๒๗ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติ งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด ๑๙ ๖) เรื่องมาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน ๗) หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) ๑๔0๕.6/วด๑๕ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การดำเนินการกรณี การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์หรือการจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่ง พัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-๑๔) ๘) หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) ๔๓๓.๒/ว๑๒๐ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง แนว ทางการดำเนินการกรณี จัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒o๑๙ (COVID-๑๙) ๔) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข ๐๐๒๓.๗/ว ๒๔๔๑ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งเตรียมการจัดตั้งศูนย์ กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) เพื่อรองรับสถานการณ์โรค โควิด 19 ที่จะเกิดขึ้น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานการดำเนินงานกับนายอำเภอและสาธารณสุขอำเภอ ๑๐) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๙๑ ภายใต้บังคับข้อ ๘๙ ในกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นให้ ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ตามความจำเป็นในขณะนั้น โดยให้คำนึงถึงฐานะการเงิน การคลังของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๑๑) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๗๙ วรรคสอง การซื้อหรือจ้างตามรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการ ไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความ เห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม ๑๒) ประกาศคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ ๑๓) หนังสือด่วนที่สุดที่ มท .๘๐๘.๒/ว ๒๑๒๐ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ เรื่องชักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ ช่วยเหลือประชาชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรค โควิด ๑๙ , ๑๔) คำสั่งเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ ๗๘๑ /2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยของเทศบาลนครหาดใหญ่ (Local Quarantine) และ ๑๕) คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ ๑๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ที่กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย (Local Quarantine) จังหวัดสงขลา ดังนั้น สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทั้งในทางตรงและทางอ้อม เพื่อเป็นการเพื่อเฝ้าระวัง การติด เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒0๑๙ (COVID-๑๙) รวมถึงการป้องกันการระบาดในพื้นที่ เสี่ยงในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการ ป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันและคัดกรองผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสเชื้อที่มี ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยง ในสำนักงานสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่

มีการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงใน สำนักงานสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการ สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙))

การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน การควบคุมการแพร่ การระงับการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 0 96,600.00 96,600.00
รวม 0 96,600.00 1 96,600.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การระงับการระบาด 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยผ่านสื่อต่าง ๆ - สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และเป็นไปตามหนังสือสั่งการ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง - ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งข่าวสารให้แก่ประชาชนทราบ เป็นระยะ ๆ - สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และคณะกรรมการ กองทุน หลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ๒. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ได้ ๓. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2564 11:13 น.