กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายร่วมใจต้านภัยมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L3062-001-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอาซีกีม ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในการควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คน แม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราสูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม
จากผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ปี 2559-2563 มีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองสะสม 105 คน คิดเป็นร้อยละ 28.38 จากจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-70 ปี จำนวน 370 คน ส่วนผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ปี 2559-2563 คัดกรองจำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 57.08 จากจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 438 คน และปี 2560 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตจำนวน 1 คน สาเหตุที่กลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับการคัดกรอง เนื่องจาก ยังมีความอายเป็นสาเหตุหลักและสามีไม่ยินยอมให้รับการตรวจคัดกรองรองลงมาคือไปประกอบอาชีพรับจ้างวันหยุดงานไม่ตรงกับวันที่ รพ.สต.นัดตรวจคัดกรอง เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด เล็งเห็นความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จึงได้จัดทำเครือข่ายร่วมใจต้านภัยมะเร็ง ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

100.00 105.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐาน

เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

100.00 105.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 14,000.00 3 14,000.00
13 พ.ค. 65 จัดประชุมถอดบทเรียนแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่และอสม. 40 4,000.00 4,000.00
16 พ.ค. 65 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย 100 10,000.00 10,000.00
20 พ.ค. 65 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 0.00

1 ประชุมถอดบทเรียนแนวทางการดำเนินการแก่เจ้าหน้าที่และอสม. 2 สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 3 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย 4 จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต.ทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 กับ 3 ของเดือน 5 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่สามีไม่ยินยอมตรวจคัดกรองเพื่อให้เข้าสู่ระบบ 6 แจ้งผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยหนังสือราชการของ รพ.สต.ลงนามโดย ผอ.รพ.สต. 7 ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม 2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3 สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็น ประจำต่อเนื่อง 4 พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 5 ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 6 ประชาชนกลุ่มวัยทำงานมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2564 12:49 น.