กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวยยิ้มใส
รหัสโครงการ 60-L5256-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูอาบาดาตีมะมุด
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 สิงหาคม 2560 - 24 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูอาบาดาตีมะมุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการการเกินและภาวะขาดสารอาหาร ในเวลาเดียวกันโดยเฉพาะในวัยเด็กผลกระทบอันเกิดจากภาวะผอมและเตี้ยของเด็กไทยจะส่งผลต่อภาวะไอคิวของเด็กไทยที่มีค่าเฉลี่ยเพียง98.๕๙ แม้ว่าจะจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนข้างไปทางต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลซึ่งควรจะมีไอคิวอยู่ที่ ๑๐๐ ในขณะที่เด็กเกาหลีใต้,ญี่ปุ่น , สิงค์โปร์ อยู่ที่ ๑๐๕-๑๐๘ส่วนผลกระทบความอ้วนในเด็กพบว่า เด็กไทยที่อ้วนเกินครึ่งมีภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และหนึ่งในสามของเด็กอ้วนจะมีภาวะความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง ที่สำคัญเด็กอ้วนจะมีโอกาสโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนสูงถึงร้อยละ ๓๐ เมื่อผู้ใหญ่อ้วนจะตามด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ยหรืออ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยวัย ๖-๑๔ ปีจำนวน ๑ใน ๕กินอาหารไม่ครบ ๓ มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้ามีมากถึงร้อยละ ๖๐ที่ไม่ได้กิน เด็กวัย ๖-๑๔ ร้อยละ๖๘และ ๕๕ กินผักและผลไม้น้อยกว่า ๑ ส่วน ต่อวันตามลำดับในขณะเด็กไทย ๑ ใน ๓ กินอาหารแป้ง ไขมัน น้ำตาลและโซเดียมสูงเป็นประจำ ที่น่าตกใจเด็กไทยวัยเรียน ร้อยละ ๔๙.๖ กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำซึ่งขนมกรุบกรอบส่วนมากจะมีไขมัน น้ำตาล โซเดียมและให้พลังงานสูง ส่วนอาหารกลางวันมีเด็กวัยเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้กิน ถึงได้กินแต่เป็นอาหารกลางวันที่ขาดคุณภาพและไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น สถานการณ์ด้านอาหาร โภชนาการ
และเนื่องด้วยสุขภาพของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูอาบาดาตีมะมุดในปีที่ผ่านมาโดย ภาพรวมเด็กนักเรียน ผู้ปกครองไม่เข้าใจในเรื่องอาหารโภชนาการและดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูอาบาดาตีมะมุดได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคอาหารเด็กที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ และการดูแลสุขภาพปากเด็ก จึงได้ทำโครงการบูรณาการระบบอาหารโภชนาการและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเล็กมูอาบาดาตีมะมุดขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้/ความตระหนักของนักเรียนและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดน้ำหวานลงเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้มากขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพดีของนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๓.๑ แต่งตั้งคณะทำงาน ๓.๑.๑ ประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน ๓.๑.๒ แบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงาน ๓.๑.๓ รับสมัครและคัดเลือกแกนนำเพื่อพัฒนาศักยภาพ ๓.๑.๔ ประชาสัมพันธ์ และคัดเลือกแกนนำ ๓.๒ จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการอาหารและโภชนาการและความเข้าใจในเรื่องอาหารโภชนาการและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ๓.๒.๑ จัดให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
๓.๒.๒ สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากโดยผู้มีความรู้เฉพาะทาง ๓.๒.๓ การบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพฟัน ๓.๓ ให้เด็กนักเรียนได้แปรงฟันอย่างถูกวิธี ทุกวันอย่างน้อยวันละ ๓ ครั้ง โดยผู้มีปกครองและครู คอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง ๓.๔ จัดรายการอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ ๓.๕ แม่ครัวร่วมจัดทำรายการอาหารกลางวันที่สอดคล้องกับโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กนักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ๒ ผู้ปกครองครู มีความรู้ด้านโภชนาการและการรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน ๓ เด็กนักเรียนดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2560 12:41 น.