กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 60-L52680217
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 9 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ส.ค. 2560 22 ส.ค. 2560 8,820.00
รวมงบประมาณ 8,820.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของเด็กวันก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งของตำบลม่วงงาม ปี พ.ศ. 2559 เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุร้อยละ 82.58 และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีพ.ศ. 2559 พบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุร้อยละ 84 และเด็กอายุ 5-6 ขวบ มีฟันผุร้อยละ 94.3
จากผลการสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้น และมีอัตราฟันผุของฟันนำ้นมสูง ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครอบครัวและเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียนจะเห็นได้ว่าปัญหาฟันผุในเด็ก วัยก่อนเรียนน่าจะเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู โดยผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนใหญ่นิยมให้เด็กดื่มนมจากขวดและหลับคาขวดนม ให้เด็กรับประทานอาหารหวาน ที่สำคัญผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการทำความสะอาดช่องปากให้เด็กเพราะคิดว่าฟันน้ำนมนั้นไม่ค่อยสำคัญนัก จากการประชุมชี้แจงและร่วมปรึกษาหารือถึงปัญหาโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนดังกล่าวผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้นำชุมชน ได้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก จึงได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทันตบุคลากรหาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กในชุมชน โดยได้ร่วมกันจัดทำ โครงการหนูน้อยฟันดี ที่ศูนย์เด็กเล็ก ขึ้นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดปัญหาทันตสุขภาพตั้งแต่เริ่มต้นก่อนจะเกิดปัญหาลุกลามจนยากต่อการแก้ไข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่สะอาด ร้อยละ 80

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่สะอาด ร้อยละ 80

2 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้นำชุมชน มีความรู้ มีทัศนคติที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็กก่อนวันเรียน

ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ผู้นำชุมชน มีความรู้ มีทัศนคติที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็กก่อนวันเรียน

3 3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และผู้นำชุมชน

ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และผู้นำชุมชน ดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน

4 4. เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กและชุมชนอย่างยั่งยืน

มีการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กและชุมชนอย่างยั่งยืน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุม ครููผู้ดูแลเด็ก เรื่องสภาวะทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในปัจจุบัน พร้อมร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาทันตสุขภาพสำหรับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. ประชุมตัวแทนผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหาทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. จัดทำโครงการพร้อมขออนุม้ติโครงการ
  4. จัดกิจกรรมให้ความรู้แบ่งเป็นฐานกิจกรรม
    -ฐานที่ 1 ฝึกการแปรงฟัน -ฐานที่ 2 อาหารที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ -ฐานที่ 3 โรคในช่องปาก โดยมีวิทยากรประจำฐาน ๆ ละ 2 คน
  5. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รับความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขนิสัยที่ดีต่อการบริโภคอาหาร
  3. เด็กในศูนย์ได้รับการแปรงฟัันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์ทุกวัน
  4. เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทั้งที่บ้านและที่ศูนย์
  5. อัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2560 13:39 น.