กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3045-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 9 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแอเสาะเหนืองตีบ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพรบัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ส.ค. 2560 30 ธ.ค. 2560 28,000.00
รวมงบประมาณ 28,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) ซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี ๔ ชนิด เชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก ๓ ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวรโดยทั่วไปอยู่ได้นาน ๖-๑๒ เดือน หลังระยะนี้แล้วคนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เป็นสาเหตุการตายจำนวนมากในแต่ละปี โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาก โดยมียุงลายเป็นพาหะและจะระบาดตลอดปีซึ่งพบมากในช่วงฤดูฝนยุงลายมักจะวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เพราะในช่วงนี้ยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ ซึ่งปี ๒๕๕๙ ถือเป็นปีที่มีการระบาดของโรคสูงและมีการแพร่กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยทั้งประเทศในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ๔,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ ๑๐ รายต่อสัปดาห์ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ๘๖,๔๖๐ ราย เสียชีวิต ๘๖ ราย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นในกลุ่มนักเรียน ๔๕.๓ % โดยจังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยสะสม ๓๐๗ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตจากสถิติปี ๒๕๕๙ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน ๒๖ รายคิดอัตราป่วยเป็น ๗๗๙.๖๑ ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่พบอัตราเสียชีวิต สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลปิยามุมังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก ๕ ปีย้อนหลัง พบว่าปี ๒๕๕๕ มีจำนวน ๑ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ ๒๘.๗๒ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๖ พบขึ้นเป็น ๖ รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ ๑๗๒.๓๖ ต่อแสนประชากรปี ๒๕๕๗ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น ๑๖ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ ๔๕๙.๖๓ ต่อแสนประชากร และปี ๒๕๕๘ จำนวน ๙ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ๒๕๘.๕๔ และปี ๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ รายคิดเป็นอัตราเท่ากับ ๗๗๙.๖๑ (ตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ) จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง โดยการสำรวจค่า BI CI และ HIในปีที่ผ่านมาพบว่าทั้ง ๕ หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ไขปัญหาด่วนคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูงคือค่าHI เท่ากับ ๖๒.๘๖ (ดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย CI =0) เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้ ตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา กิจกรรมป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพ และชีวภาพและทางเคมีในบ้านวัดและโรงเรียนเพื่อไม่ให้มีการระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง

มีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง มากกว่า ร้อยละ 80

2 ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๓.๑ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่แก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยงาน และอื่นฯ ๓.๒อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับ อสม.ในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่สมัครใจ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนัก รับรู้ปัญหา การรับรู้บทบาทหน้าที่ การสร้างพลังความสามารถในการดำเนินงานควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยเน้นวิธีการควบคุมโรคด้วยวิธีกายภาพและชีวภาพ จัดแบ่งฐานการเรียนรู้ ๓.๓ออกให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์โรงเรียน ๓ โรง เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๓.๔กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ ๕ หมู่บ้านๆละ ๑ ครั้ง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ๓.๕ดำเนินการพ่นหมอกควัน ทั้งพื้นที่เสี่ยง และเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบพ่นหมอกควันภายใน ๒๔ ชั่วโมงที่รับรายงานผู้ป่วยและพ่นซ้ำหลังจากพ้นครั้งแรก ๗ วัน ๓.๖ประกวด อสม.ดีเด่นด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยพิจารณาจากกิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม พื้นที่เขตรับผิดชอบไม่มีลูกน้ำ ความคิดสร้างสรรค์ในการควบคุม ไม่ให้เกิดลูกน้ำ ส่งรายงานสำรวจลูกน้ำครบทุกเดือน พร้อมป้ายประกาศ เขตปลอดลูกน้ำยุงลาย ๓.๗ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ ๓.๘ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อาสาสมัครสาธารณสุขมีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ๒. ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง ๓. ดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย CI =0 ๔. มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนนวัตกรรมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2560 16:09 น.