กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออกตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  ปี ๒๕๖๐
  ๑.กิจกรรม / วิธีดำเนินการ ๑.๑ ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในหน่วยงาน และอื่นๆ         ๑.๒ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับ อสม.ในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่สมัครใจเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนัก รับรู้ปัญหา การรับรู้บทบาทหน้าที่ การสร้างพลังความความสามารถในการดำเนินงานควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยเน้นวิธีการควบคุมโรคด้วยวิธีกายภาพและชีวภาพ จัดแบ่งฐานการเรียนรู้       ๑.๓ ออกให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์โรงเรียน ๓ โรง เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
      ๑.๔ กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ ๕ หมู่บ้านๆละ ๑ ครั้ง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
      ๑.๕ ดำเนินการพ่นหมอกควัน ทั้งพื้นที่เสี่ยงและเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบพ่นหมอกควันภายใน ๒๔ ชั่วโมงที่รับรายงานผู้ป่วยและพ่นซ้ำหลังจากพ้นครั้งแรก ๗วัน
      ๑.๖ ประกวด อสม.ดีเด่นด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยพิจารณาจากกิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม พื้นที่เขตรับผิดชอบไม่มีลูกน้ำ ความคิดสร้างสรรค์ในการควบคุมไม่ให้เกิดลูกน้ำ ส่งรายงานสำรวจลูกน้ำครบทุกเดือน พร้อมป้ายประกาศ เขตปลอดลูกน้ำยุงลาย
๒.ผลการดำเนินโครงการ ๒.๑ อาสาสมัครสาธารณสุขมีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการออกรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อาทิตย์ละครั้งและทำเป็นแบบอย่างเพื่อให้ชาวบ้านเห็นและทำตาม และจะมีการควบคุมโรคทันทีหากมีผู้ป่วยโดยจะไปพ่นหมอกวันในบ้านผู้ป่วยและรอบๆบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร และจะพ่นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จากนั้น 2 สัปดาห์  มีการแจกทรายอะเบต โลชั่นทากันยุง สเปรย์พ่นยุงในบ้าน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ตระหนักภัยพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ๒.๒ ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง โดยการวัดความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้

๓.ปัญหา อุปสรรค                                                                                                      และแนวทางแก้ไข ๑. เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานระบาดคนเดียวและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆไม่ถนัดมาก        - ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตาม Cashments area ลงไปควบคุม ป้องกันร่วมกับเจ้าหน้าที่ระบาดเวลามีผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบหรือช่วยกันรณรงค์

๒. อสม.ที่รับผิดชอบละแวกบ้านของผู้ป่วยไม่สะดวกออกมาควบคุม                  - ประสานกับ อสม.คนอื่นที่สามารถออกมาได้ มา ควบคุม ป้องกัน และสอบสวนบ้านผู้ป่วยแทนหรือ     ป้องกันกรณีมีการระบาดและไม่ตระหนักต่อบทบาทที่ได้รับมอบหมาย              สร้างทีมงานควบคุมโรคระดับหมู่บ้านขึ้นมา

๓.เจ้าหน้าที่, อสม รวมทั้งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ เทคนิค                      - จัดอบรมเจ้าหน้าที่ อสม. และอื่นๆให้ครบทุกคนแบบละเอียด     ประสบการณ์การทำงาน

๔. ชาวบ้านไม่มีความตระหนักในเรื่องการป้องกันการเกิดโรค                          - ต้องอาศัยทุกหน่วยงานในการประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อ     ไข้เลือดออกยังคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือ อสม.                                หรือพูดคุยให้ชาวบ้านสร้างความตระหนัก เช่น นายก อบต.                                                                                                           ผู้นำศาสนา เป็นต้น
    วัสดุ/อุปกรณ์   ๕.  เครื่องพ่นชำรุดทุกตัวไม่พร้อมใช้งานได้ทันที และเครื่องพ่น                          - ส่งซ่อมศูนย์ หรือซื้อเครื่องใหม่แทน
        เล็กไม่สามารถนำไปซ่อมได้
  ๖. ขาดงบประมาณในการส่งซ่อม                                                                - จัดหางบประมาณในการส่งซ่อมเช่น งบบำรุง,งบโครงการ เป็นต้น

    ๗. ขาดความรู้ในการใช้อุปกรณ์ และการซ่อมเบื้องต้น                                    - จัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม

๔.ข้อเสนอแนะ ๔.๑ จัดตั้งทีมงานควบคุมโรคในระดับหมู่บ้านขึ้นและมีความพร้อมเสมอเวลามีผู้ป่วยขึ้นมา ในการลงไปดำเนินการควบคุมป้องกันโรคได้ทันทีทันที พรอมทั้งมีวัสดุอุปกรณ์พร้อมทุกเมื่อ
๔.๒ ต้องอาศัยผู้มีอำนาจในพื้นที่ช่วยเป็นสื่อกลางสร้างให้ชาวบ้านมีความตระหนัก เช่น นายก อบต., ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เป็นต้น

๔.๓ อยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เช่น ช่วยประชาสัมพันธ์ตามหอกระจายข่าว รถกระจายเสียงตามหมู่บ้าน และชาวบ้านร่วมกันรณรงค์ เป็นต้น ๔.๔ ร่วมกันจัดทำ Big cleaning day ร่วมกันโดยการนำของทุกภาคส่วนและชาวบ้าน ๔.๕ เพิ่มหลักสูตรเสริมในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกอาทิตย์เพื่อสร้างความเคยชินให้กับนักเรียนและสามารถนำกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้


                                                                                                           

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : มีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง มากกว่า ร้อยละ 80

 

2 ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
ตัวชี้วัด : ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง (2) ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh