กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย สมส่วน ฟันดี วัคซีนครบ (SMART KIDS)ตำบลปิยามุมัง ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3045-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 9 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 สิงหาคม 2560 - 30 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารอมูหะมะสาเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพรบัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ส.ค. 2560 30 ธ.ค. 2560 41,000.00
รวมงบประมาณ 41,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการที่ดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดีมีพัฒนาการที่สมวัย กาดูแลสุขภาพไม่ให้ผุรวมทั้งการได้รับภูมิคุ้มกันด้านต่างๆล้วนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน ๐-๕ ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่สำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีคามสำคัญต่อการเจริญเติบโตพัฒนาขอเด็กวัยก่อนเรียน ปัญหาสุขภาพทางด้านสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ตระหนักเท่าที่ควร
จากการประเมินผลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๕ ปี) จากเด็กทั้งหมด ๓๓๓ คน จะพบว่าพื้นที่เขตตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ในช่วงไตรมาส ๑/๒๕๕๙ ที่ผ่านมา มีโภชนาการบกพร่อง ๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๒๒ เด็กมีสุขภาพฟันผุ จำนวน ๒๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๒๗ (เกณฑ์ไม่เกิน ๕๐ %) เด็กไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน ๓๗ คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗๑ (เกณฑ์ได้รับ ๙๐ %) ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย สมส่วน ฟันดี วัคซีนครบ (SMART KIDS) ปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ร้อยละ ๑๐๐ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็ก

ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กร้อยละ 100

2 2.เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ ๙๐

เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ ๙๐

3 ๓.เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กตะหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กทั้ง ๕ ด้านและได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามกลุ่มอายุ ๙, ๑๘, ๓๐ และ ๔๒ เดือนครบทุกคน

เด็กได้รับตรวจคัดกรองพัฒนาการตามกลุ่มอายุ ๙, ๑๘, ๓๐ และ ๔๒ เดือนครบทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงร่วมกันชมรมอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน เพื่อจัดทำโครงการขออนุมัติ แก่กองทุนสุขภาพตำบล ๒.สำรวจเด็ก ๐-๕ ปี โดยพี่เลี้ยงอสม.แต่ละแวกรับผิดชอบเพื่อดูระวัติการได้รับการตรวจช่องปาก การได้รับฟลูออไรด์วานิช และการได้รับวัคซีน ๓.รวบรวมและจัดทำทะเบียนสุขภาพในช่องปาก ประวัติวัคซีน ข้อมูลโภชนาการ และพัฒนาการ
๔.ประชาสัมพันธ์โครงการ ๕.ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติการตรวจช่องปากและทาฟลูออไรด์เฉพาะที่เชิงรุกให้แก่เด็กในกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งติดตามวัคซีน ตรวจพัฒนาการ และโภชนาการ ๖.ติดตามเด็กในกลุ่มเป้าหมาย โดยพี่เลี้ยงอสม.ทุกๆ ๓ เดือน ๗.พี่เลี้ยงอสม.ผู้รับผิดชอบละแวกติดตาม พร้องซักถามปัญหาอุปสรรค ๘.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องทันตสุขศึกษา ฝึกผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็ก เรื่องวัคซีน โภชนาการ และพัฒนาการสมวัย ๙.จัดเวทีแลกเปลี่ยน ในแต่ละหมู่เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยร่วมกับผู้นำชุมชน ๑๐.สรุปและประเมินการดำเนินงาน ๑๑.คืนข้อมูลสู่ชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้เลี้ยงดูเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็ก ๒.เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากร ๓.เด็ก ๐-๕ ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ๔.เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับฟลูออไรด์วานิชเฉพาะที่ เพื่อป้องกันฟันผุ ๕.เด็ก ๐-๕ ปี มีอัตราฟันผุน้อยลง ๖.เด็กตำบลปิยามุมังได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ร้อยละ ๙๐ ๗.เด็กที่ขาดวัคซีนได้รับการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม ๘.เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วน ๙.เด็ก ๐-๕ ปี มีผลคัดกรองพัฒนาการสมวัยทั้ง ๕ ด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2560 08:16 น.