กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชน ตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,852.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศษวิกา โพธิ์ไทรย์
พี่เลี้ยงโครงการ นายณรงค์วิทย์ ขุนพิจารย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 30,852.00
รวมงบประมาณ 30,852.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 163 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 952 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 163 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการป้องกันโรควัณโรคอย่างถูกวิธี
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจ อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดั้งนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานโครงการวัณโรคแห่งชาติ ในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การรักษาและป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่าDOTS(Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ข้อเสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลกใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคโดยมีพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือบุคคลในครอบครัว เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวันให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาดไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการป้องกันโรควัณโรคอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ  และมีพฤติกรรมในการป้องกันโรควัณโรคอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง

10.00 90.00
2 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของผู้ป่วย และลดอัตราป่วยตายด้วยโรควัณโรค

การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น

10.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,852.00 3 30,852.00
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและทำป้ายประชาสัมพันธ์ เรื่อง การป้องกันตนเองจากโรควัณโรค 0 14,052.00 14,052.00
1 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 0 4,075.00 4,075.00
3 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรควัณโรค 0 12,725.00 12,725.00

.1 เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชุมภูพร 3.2 ประสานงานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 3.3 จัดทำหลักสูตรเนื้อหาการอบรม รูปแบบการอบรมใช้วิธีบรรยาย 2.4 จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรควัณโรค 3.5 จัดกิจกรรมรณรงค์และทำป้ายประชาสัมพันธ์ เรื่อง การป้องกันตนเองจากโรควัณโรค 3.6 จัดทำแผนออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงป่วยวัณโรค คือกลุ่มผู้อายุและผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 3.7 กลุ่มเสี่ยงที่มีผลการคัดกรองผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
3.8 ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชุมภูพร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการ พัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564 01:15 น.