กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ม.10 (บ้านทุ่งสบาย)
รหัสโครงการ 2564-L3328-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) บ้านทุ่งสบาย
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 16,945.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกะสมา ดารารพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากโรคไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างรวดเร็ว คือ เมื่อชุมชนไม่มีการทำความสะอาด คว่ำหรือกำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย   ดังนั้นการสำรวจภาชนะที่มีน้ำขังของครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ ของ อสม. ที่ต้องสำรวจเดือนละ 1-2 ครั้ง และทุกครั้งที่สำรวจต้องให้เจ้าบ้านเห็นว่าภาชนะใบไหนบ้างที่มีลูกน้ำยุงลาย และให้กำจัดทิ้งให้หมด   ทั้งนี้ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้คนในชุมชนทราบถึงสาเหตุและวิธีป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการกระตุ้นการตื่นตัวให้รู้จักการดูแลตัวเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชน มีการตื่นตัวในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ประชาชน มีการตื่นตัวในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่ตลอดเวลา

0.00
3 เพื่อให้คนในชุมชนไม่เป็นโรคไข้เลือดออก

เป็นชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ประชุมปรึกษาหารือระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื่มสำหรับประชุมชี้แจงการดำเนินงาน อสม. จำนวน 11 คน x 25บาท ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน x 25บาท ผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน x 25บาท เป็นเงิน 325 บาท

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้คนในชุมชนทราบถึงสาเหตุและวิธีป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 82 คน x 60 บาท เป็นเงิน 4,920 บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 82 คนๆละ 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท 3. ค่าทรายอะเบท 2,000 บาท 4. รถแห่ (จักรยานยนต์สามล้อ) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 คันๆละ 100 บาท เป็นเวลา 4 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท 5. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2ชม.ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 5. ค่าไวนิลขนาด 1.22.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 600 บาท 6. ค่าไวนิลขนาด 11.5 เมตร จำนวน 3 แผ่นๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 7. ค่าเอกสาร เป็นเงิน 500 บาท กิจกรรมที่ 3 การออกตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย อสม. เดินเคาะประตูบ้านอย่างต่อเนื่อง ภายในเวลา 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับข้อมูลสถานการณ์ไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีการตื่นตัวในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  3. ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 16:03 น.