กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อสม.รพ.สต.ตะโหมด
รหัสโครงการ 2564-L3328-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.ตะโหมด
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนพภสร ขุนนาม นายสายัณห์ จู่สวัสดิ์ นางอนงค์ ชูวิจิตร์ นางตื่นใจ ทองเอม นางพัชรี มีสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุก ฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและ เอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตะโหมด เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ชีวนิสัยของยุงขอบออกหากินเวลา กลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ทชุมชน การควบคุมโรคจะต้องอาศัย ความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดใน การแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึง สภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหา วิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การ ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรม สำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.ตะโหมด เขตพื้นที่ ทต.เขาหัวช้าง หมู่ที่ 1,3,4,9,11,12

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

0.00
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

๓. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

0.00
4 ๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

๔. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

0.00
5 ๕. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

๕. สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเตรียมงาน งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 32 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 800 บาท 2. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง -- ป้ายไวนิลรณรงค์ จำนวน 2 แผ่นๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าสเปรย์ฉีดกำจัดยุงตัวแก่ จำนวน 200 กระป๋องๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าแผ่นพับ เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน 100 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,000 บาท
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำแสมอ
๕. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2564 16:12 น.