กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ (โรงเรียนชราบาล) ตำบลฝาละมี ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-l3338-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 118,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประยูร ชูแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 มิ.ย. 2564 6 มี.ค. 2565 20 มิ.ย. 2564 6 มี.ค. 2565 118,500.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 118,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นบุคคล ที่สถาบันครอบครัวไทยให้การเคารพยกย่องมากที่สุด เพราะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในชีวิตสูง  เป็นผู้ถ่ายทอดความสามารถ ประเพณี วัฒนธรรมและค้ำจุนจิตใจ  ให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม ได้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด       แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยจะสูญเสียความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันความสามารถเสื่อมถอย ต้องอาศัยญาติและครอบครัวคอยดูแล ทำให้เป็นภาระ ผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ เกิดจากกระบวนการการสูงวัยและโรคต่าง ๆ มากมายทำให้เกิดปัญหา ทั้งด้านสุขภาพ กาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเกี่ยวกับครอบคัว และปัญหา ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้บริการสุขภาพสูงกว่าวัยอื่นๆ และจะต้องใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในด้านการรักษาพยาบาลสูง
        ผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านในเขตตำบลฝาละมี  อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สมาชิกทั้งหมด 712 คน จากการสำรวจสภาวะพบว่า มีปัญหาด้านสุขภาพและวิตกกังวลสูง โดยพบการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 42.83 โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 13.48 โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 9.55 โรคเบาหวาน จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 16.85 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 17.27  การได้รับความรู้  เรื่องการดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถป้องกันและแก้ไขภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกปัญหาสุขภาพร่างกาย รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิต ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบรูณ์แข็งแรง         อย่างไรก็ตามการมารับความรู้ในโรงเรียนผู้สูงวัย พร้อมกับการออกกำลังกายนี้จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น เพศ และความแข็งแรงที่มีอยู่ เนื่องจากการออกกำลังกายมากเกินไป หรือหักโหมจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ การออกกำลังกายเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของร่างกายแล้ว ยังสามารถแก้ไขความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยการออกกำลังกาย       ชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ คุณค่าของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม  จึงได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ (โรงเรียนชราบาล) ตำบลฝาละมี ประจำปี 2564 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้มีโอกาสเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้มีโอกาสเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
  • ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค  ร้อยละ  80
80.00
2 2 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล
  • จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น
100.00
3 3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้น ร้อยละ  50

50.00
4 4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

ผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 ได้ทำ   กิจกรรมด้านศาสนาร่วมกัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และรับฟังข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  3. วางแผนการดำเนินงาน กำหนดกิจกรรมการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสุขภาพผู้สูงอายุ
  4. คณะทำงานทบทวนหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของคนในชุมชน โดยจัดทำหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การดูแลตนเองป้องกันในการหกล้ม การดูแลในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ 5.จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจำนวน 80 คน เข้าร่วมในกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ทุกวันพุธ เวลา 13.30 - 15.30 น.                                                      6. จัดกิจกรรมนันทนาการ เช่น รำวง
  5. จัดกิจกรรมบุญประเพณีตามวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันมาฆะบูชา วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
  6. จัดทำกลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
  7. การค้นหาภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ
  8. กิจกรรมอบรมส่งเสริมพัฒนาจิต โดยการไปปฏิบัติธรรมนอกสถานที่
  9. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แสดงผลที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ ได้แก่     (1) ความต่อเนื่องยั่งยืน ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน และดูแลอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยสหวิชาชีพ และ อสผ.   - ผู้สูงอายุห่วงใยไม่ทอดทิ้งกันมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน       - ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน 80 ปี       - ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี มีรายได้เพิ่ม   (2) การขยายผล ขยายผลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการฯและผู้ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมรคุณค่า คุณภาพต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 10:36 น.