กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5273-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรัญญา เฉลิมบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 30 ก.ย. 2564 200,000.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 572 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 920 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 176 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid 19) ระลอกใหม่ในช่วงเดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อจำนวนมากกว่าว้นละ 1,000 คน ซึ่งอาการของผู้ป่วยโควิดมีระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยจนถึงมากและถึงขั้นเสียชีวิต จังหวัดสงขลา นับได้ว่าเป็นจังหวัดอันดับบต้น ๆ ของประเทศและของภาคใต้ ในระลอกสามที่มีผู้ป่วยตรวจพบเชื้อผลบวก และผู้สัมผัสเป็นจำนวนมาก จากหลายคลัสเตอร์และจากการสัมผัสโดยส่วนตัว เกิดขึ้นในหลายสถานที่และมีไทม์ไลน์ที่เกี่ยวข้องกระจายอยู่ทุกอำเภอ ส่วนตำบลฉลุงพบผู้ป่วยที่ตรวจพบผลบวกในระดับไม่รุนแรง เข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม จำนวน ราย หากแนวโน้มสถานการณ์รุนแรงขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ เครื่องอุปกรณ์ โรงพยายาลมีแนวโน้มไม่เพียงพอ ที่ต้องได้รับการจัดการและรับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชนในทุกระดับ รวมถึงการดูแลและเฝ้าระวังพฤติกรรมของประชาชนเอง ตามหลักการ DMHTT (ย่อมาจาก Distancing คือ การเว้นระยะห่างกับคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร เพราะละอองฝอยจากการพูด ไอ จาม จะฟุ้งมากในระยะ 1-2 เมตร, M ย่อมาจาก Mask Wearing คือการสวมหน้าการผ้า หรือหน้ากากอนามัยเพื่อลดการฟุ้มกระจายของละอองฝอย โดยประชาชาชนทั่วไปสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ตลอด, H ย่อมาจาก Hand Washing คือการหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งน้ำสบู่ และเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ , T ย่อมาจาก Testing คือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายสม่ำเสมอ ทั้งก่อนเข้าทำงาน ฯ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ฉลุง ได้เล็งเห็นว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมาตั้งแต่ระลอก 1 ถึงปัจจุบัน การเตรียมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต้องมีความพร้อมและเพียงพอในการรองรับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการสำรองวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด เพราะโดยอำนาจหน้าของ อบต. มีหน้าที่ในการป้องกันโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติ ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67 (3) โรคและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มีทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฯ

มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ฯ

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT หรือตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดสงขลา

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ฯ และสามารถให้การดูแลกลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับหน้ากากอนามัยและผู้ดูแลได้รับแนวทาง ข้อปฏิบัติในการช่วยเหลือดูแลกลุ่มเสี่ยง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1668 200,000.00 3 199,476.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1.ประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับประชาชน 0 32,814.00 32,814.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 2.การป้องกันและควบคุมโรค 0 74,874.00 74,350.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 3.จัดซื้อ หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือเพื่อกลุ่มเสี่ยง 1,668 92,312.00 92,312.00

1.เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT ผ่านรถประชาสัมพันธ์ติดเครื่องขยายเสียงและทำการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์จุดสำคัญที่มองเห็นเด่นชัด จำนวน 7 หมู่บ้าน 3.ประสานงานกับ รพ.สต.ฉลุง เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน เพื่อรับทราบข้อมูลกลุ่มเสี่ยง รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานในการลงพื้นที่ 4.กำหนดวัน เวลา สถานที่ ในการออกแจกหน้ากากอนามัยแก่กลุ่มเสี่ยงพร้อมทำความเข้าใจผู้ดูแล 5.ดำเนินการจัดซื้อหน้ากากอนามัย และวัสดุ เวชภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง 6.ดำเนินการปฏิบัติงานตามแผนการที่กำหนดร่วมกับภาคีเครือข่าย 7.ดำเนินการควบุมโรคในสถานการณ์ปกติและเกิดผู้ป่วย สถานการณ์ปกติ หากมีหน่วยงานหรือสถานที่สาธารณะที่มีความประสงค์หรือเห็นสมควร หรือตามหนังสือสั่งการ ให้มีการพ่นฆ่าเชื้อก็ทำการดำเนินการตามสถานที่นั้น ๆ กรณีเกิดผู้ป่วย ให้มีการพ่นฆ่าเชื้อให้กับบ้านผู้ป่วยที่ยืนยันผลพบผลบวกสารพันธุกรรมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 8.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นคัสเตอร์ในชุมชน ของตำบลฉลุง 2.สถานที่พักของผู้ป่วยทุกราย และสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะฯ ได้รับการป้องกันควบคุมโรค (COVID-19) โดยการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ 3.ประชาชนกลุ่มวันที่เสี่ยงได้ับการดูแลจากผู้ดูแลหรือป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ (COVID-19) ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 15:21 น.